🔔 ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
กระบวนวิชา "การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของเด็กปฐมวัย ห้องเรียน Active Learning สู่การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ของเด็กปฐมวัย" ซึ่งสอนโดย อาจารย์ศิริพร วงค์ตาคำ ได้มีการประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning เข้ามาในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก Active Learning ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้นและลงมือปฏิบัติได้จริง ซึ่งผู้สอนในรายวิชานี้เน้นให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง (Learning by doing) ของผู้เรียน การนำ Active Learning มาใช้จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายในการเรียนรู้ของผู้สอนมากที่สุด
เนื้อหาของรายวิชานี้มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถออกแบบสื่อและกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีให้กับเด็กปฐมวัยได้ ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการค้นคว้าสิ่งที่สนใจและเรียนรู้จากการเรียน (learning to learn) เน้นสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม การปฏิบัติ และการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) เพื่อนำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบหรือสร้างความรู้ใหม่บนฐานความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีมาก่อนหน้านี้
การใช้ Active Learning ในรายวิชานี้ช่วยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับบริบทในชีวิตจริงมากยิ่งขึ้น เพราะช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ทั้งการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นการเชื่อมโยงความรู้ให้สัมพันธ์กับชีวิตจริง ผู้เรียนจะได้มีบทบาทเป็นนักแก้ปัญหา สามารถออกแบบการสำรวจเพื่อแสวงหาคำตอบหรือคำอธิบายข้อสงสัย โดยบูรณาการใช้ความรู้แต่ละศาสตร์ ตลอดจนเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ถือเป็นการเรียนการสอนที่ผู้สอนเปลี่ยนการบรรยายแบบธรรมดา ให้กลายเป็นการบรรยายที่มีส่วนร่วม พร้อมทั้งมีกิจกรรมให้นักศึกษาทำร่วมกัน เพื่อสร้างทักษะให้เกิดความเข้าใจและปรับใช้ความรู้ได้จริงในอนาคตอย่างแท้จริง
ดังนั้น การเรียนการสอนในรายวิชา "การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของเด็กปฐมวัย ห้องเรียน Active Learning สู่การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ของเด็กปฐมวัย" ผ่านการเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบ Active Learning สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนได้มากยิ่งขึ้น ได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนโดยการลงมือปฎิบัติจริง ช่วยให้ผู้เรียนได้อภิปรายและเสนอแนะร่วมกัน เได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติมากขึ้น ทั้งในการทำงานเป็นทีมและการทำงานเดี่ยว ต่อยอดให้เกิดทักษะและเข้าใจในเนื้อหา จนสามารถอธิบายความหมายและความสำคัญ สรุปคุณลักษณะตามวัย วิเคราะห์ทฤษฎี สรุปหลักการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องมือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้
│ Kahoot, Plicker, Prezi, Mentimiter
Canvas, Microsoft Teams, Micrisoft, Line, Youtube และ Zoom
บทคัดย่อ
กระบวนวิชา 062302 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของเด็กปฐมวัย เดิมเป็นกระบวนวิชาที่เน้นการบรรยายเป็นหลัก มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการออกแบบสื่อและกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่สำคัญของประเทศชาติ ให้เกิดคุณธรรมและจริยธรรม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 นี้ ผู้สอนได้ปรับเปลี่ยนและออกแบบการเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจผ่านปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น โดยเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบ Active Learning ผู้สอนให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำ (Learning by doing) ของผู้เรียน ผู้เรียนค้นคว้าสิ่งที่สนใจและต้องเรียนรู้จากการเรียน (learning to learn) เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม การปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) นำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบหรือสร้างความรู้ใหม่บนฐานความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีมาก่อนหน้านี้ เมื่อได้ข้อสรุป ผู้เรียนนำมาออกแบบสื่อการเรียนรู้ และระหว่างทางของการค้นคว้า ผู้เรียนสามารถนัดผู้สอนเพื่อปรึกษาและรายงานความก้าวหน้านอกเวลาเรียนได้เสมอผ่านการ Zoom ในการประเมินผลผู้เรียน ผู้สอนเน้นการประเมินจากการนำเสนอผลงานและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในชั้นเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการประเมินร่วมกับผู้สอน
ผลการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ในภาคการศึกษาที่ 1 ปี 2565 นี้ พบว่า นักศึกษามีความสุข มีความกระตือรือร้น และสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข มีช่วงเวลาให้ทำงานอย่างเต็มที่ นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายและความสำคัญ สรุปคุณลักษณะตามวัย วิเคราะห์ทฤษฎี สรุปหลักการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของเด็กปฐมวัยได้
รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่
หน้า 102 ผลการจัดการเรียนรู้ 21st Century Learning ประจำปีการศึกษา 2565
เรื่อง 062302: การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมของเด็กปฐมวัย ห้องเรียน Active Learning สู่การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ของเด็กปฐมวัย
โดย อาจารย์ศิริพร วงค์ตาคำ
ภาควิชาพื้นฐานและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำภาพประกอบโดย TLIC Junior รุ่นที่ 5
(นักศึกษาช่วยงานโครงการ Digital Learning Assistant 1/2567)
📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔
TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
Comments