Learning Innovation Research
โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
ทำความรู้จักทุนวิจัยนวัตกรรม
(สำหรับอาจารย์ มช.)
ในปีการศึกษา 2565 ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้เปิดตัวทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนอาจารย์และนักวิจัยที่มีความสนใจด้านนี้ได้ผลิตผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัยและหรือการตอบจุดประสงค์ของ SDGs 4 ด้านการพัฒนาการศึกษาที่เท่าเทียมทั่วถึง
โดยจะมีการแบ่งหัวข้อการวิจัยและพัฒนาตามการประเมินระดับความพร้อมจากการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ ในบริบทของมหาวิทยาลัย (CMU Readiness Level: CMU-RL) เชิญชวนอาจารย์ มช.ทุกท่านที่สนใจ เข้าร่วม Webinar นี้ เพื่อทำความรู้จักกับทุนประเภทใหม่นี้ไปพร้อมๆกัน โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 4 ท่านดังนี้

ชมคลิป Webinar ย้อนหลัง
ที่มาของโครงการ
เพื่อเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สร้างทักษะ การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียนในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย ตอบสนองเป้าหมายในการพัฒนามหาวิทยาลัยตามกรอบของ SDGs โดยเฉพาะ SDG 4 : Quality Education ที่เป็นการสร้างหลักประกัน ว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม พร้อมทั้งการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากลขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยในปีการศึกษา 2565 นี้ TLIC ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมจำนวน 3 ทุน แบ่งตามระดับ 3 ระดับ(Level) ดังนี้



1. ระดับที่ 1 งานวิจัยด้านการเรียนรู้ระดับปฏิบัติการ
LEVE: I - Laboratory Level (CMU-RL 1-3)
งบประมาณสนับสนุน : 300,000 บาทต่อโครงการ
เน้นพัฒนาแนวคิด ต้นแบบ และทดสอบเบื้องต้น
หมายเหตุ : เงื่อนไขการสมัครทุนประเภทนี้อ้างอิงตามนิยามตัวชี้วัด CMU-RL 1-3
โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตามกลุ่มวิชาของท่านด้านล่าง
2. ระดับที่ 2 งานพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ใช้งานภาคสนาม
LEVEL II - Fieldwork Level (CMU-RL 4-7)
งบประมาณสนับสนุน : 500,000 บาทต่อโครงการ
เน้นใช้งานจริงภายใน หรือ นอกมหาวิทยาลัย (ลงพื้นที่/ชุมชน) ระดับขยายผล
หมายเหตุ : เงื่อนไขการสมัครทุนประเภทนี้อ้างอิงตามนิยามตัวชี้วัด CMU-RL 1-3
โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตามกลุ่มวิชาของท่านด้านล่าง
3. ระดับที่ 3 โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
LEVEL III - Commercial/Standardized Level (CMU-RL 8-9)
งบประมาณสนับสนุน : พิจารณางบประมาณตามข้อเสนอโครงการ
ยอมรับเป็นมาตรฐานขยายผลอย่างกว้างขวาง ต่อยอดเชิงพาณิชย์
หมายเหตุ : เงื่อนไขการสมัครทุนประเภทนี้อ้างอิงตามนิยามตัวชี้วัด CMU-RL 1-3 โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตามกลุ่มวิชาของท่านด้านล่าง
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับนิยามตัวชั้วัด CMU-RL ในกลุ่มวิชาของท่าน และดูรายละเอียดเงื่อนไขการสมัครข้อเสนอโครงการได้จากข้อมูลด้านล่าง หรือดูข้อมูลได้จาก คู่มือตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติงานของส่วนงาน (ตัวชี้วัด OKRs) ตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560-2565) ปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ.2563 (ปรับแก้ 16 มีนาคม 2565) https://cmu.to/OSCGy
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การให้การสนับสนุน
โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นิยามตัวชี้วัด CMU-RL
กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
CMU-RL 1-3 : เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และผลงานวิจัยพื้นฐานที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม ต้นแบบผลิตภัณฑ์ คู่มือ รูปแบบ (แพลตฟอร์ม) ขององค์ความรู้ใหม่ที่เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
CMU-RL 4-7 : เน้นการนำองค์ความรู้ใหม่และผลงานวิจัยพื้นฐานที่พัฒนาจากองค์ความรู้ใหม่ ทั้งนวัตกรรม ต้นแบบผลิตภัณฑ์ คู่มือ รูปแบบ (แพลตฟอร์ม) หรือผลงานวิจัยพื้นฐานที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus โดยมีการนำผลงานไปทดลองใช้ภายในสภาพแวดล้อมจริง และเกิดการขยายผลจนเป็นต้นแบบห้องปฏิบัติการที่ผ่านมาตรฐาน หรือต้นแบบภาคสนาม ไม่ว่าจะเป็นชุมชน องค์กรของรัฐหรือเอกชน ภายนอกมหาวิทยาลัย
CMU-RL 8-9 : เน้นการนำองค์ความรู้ใหม่และผลงานวิจัยพื้นฐานไปใช้จริง โดยผู้ใช้งานจริง อาทิ นวัตกรรม ต้นแบบผลิตภัณฑ์ คู่มือ รูปแบบ (แพลตฟอร์ม) หรือผลงานวิจัยพื้นฐานที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus โดยมีผู้ใช้งานจริง ไม่ว่าจะเป็นชุมชน องค์กรของรัฐหรือเอกชนภายนอกมหาวิทยาลัย มีการขอนำ ผลงานไปใช้งาน ผ่านการขอใช้อย่างเป็นทางการ หรือการทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU)
นิยามตัวชี้วัด CMU-RL
กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
CMU-RL 1-3 : การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม ต้นแบบผลิตภัณฑ์ คู่มือ รูปแบบ (แพลตฟอร์ม) ขององค์ความรู้ใหม่ ที่เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม หรือมีการเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่สู่สังคมโดยทั่วไป
CMU-RL 4-5 : ผลงาน หรือองค์ความรู้ใหม่ หรืองานวิจัยที่พัฒนาเป็นต้นแบบห้องปฏิบัติการ ต้นแบบภาคสนาม หรือคู่มือ รูปแบบ (แพลตฟอร์ม) ขององค์ความรู้ใหม่ที่มีการทดสอบภายในเพื่อยืนยันว่าผลงานวิจัยหรือองค์ความรู้ใหม่ สามารถใช้งานได้จริงในระดับห้องปฏิบัติการหรือภาคสนามที่อยู่ภายใต้การกำกับของทีมพัฒนาภายในส่วนงาน
CMU-RL 6-7 : ผลงาน หรือองค์ความรู้ใหม่ หรืองานวิจัยที่พัฒนาเป็นต้นแบบห้องปฏิบัติการ ต้นแบบ ภาคสนาม หรือคู่มือ รูปแบบ (แพลตฟอร์ม) ขององค์ความรู้ใหม่ ที่มีการทวนสอบ ทดสอบ เพื่อยืนยันว่าผลงานสามารถใช้งานได้จริงและมีการนำไปใช้งานจริง ในสภาวะแวดล้อมภายนอก ต่อหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย (โดยที่หน่วยงานดังกล่าวต้องไม่อยู่ในลักษณะของทีมพัฒนา)
ทั้งนี้ หากต้องการนับผลงานที่เกิดขึ้นจากการจ้างพัฒนา การจ้างวิจัย การจ้างเป็นที่ปรึกษา ต้องมีการอธิบายถึงผลงาน หรือชิ้นงานที่ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีความพร้อมสามารถนำไปใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจหรือสังคม
CMU-RL 8-9 : ผลงานหรือองค์ความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้จริงโดยบุคคลภายนอก มีการขยายผลและสร้างผลกระทบในวงกว้าง (ระดับชุมชน ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ ระดับนานาชาติ) เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์
ทั้งนี้ เป็นผลงานที่นำไปใช้ประโยชน์จริง เช่น มีหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือชุมชน มาขอใช้ผ่านการทำข้อตกลงร่วมกับส่วนงาน (MOU) หรือทำหนังสือมาขอใช้ เพื่อขอนำผลงานนั้นไปใช้ต่อ หรือขยายผลในเชิงสังคมหรือเชิงพาณิชย์ หรือใช้ในพันธกิจขององค์กรนั้น ๆ