CMU OBE
PLATFORM
แนะนำระบบ CMU OBE PLATFORM
โดยอาจารย์ ดร.อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ
ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
CMU OBE - มิติใหม่ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
CMU OBE - มิติใหม่ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
CMU OBE - Tutorial 2 วิธีประเมินผล OBE
CMU OBE - Tutorial 1 แนะนำระบบ OBE
CMU OBE - Overview
การใช้งาน CMU OBE Platform
วิดิโอแนะนำวิธีการใช้งานระบบ CMU OBE Platform ง่ายๆ ใน 3 STEP
STEP 1
Create Gradebook
STEP 2
สร้างหมวดคะแนน
STEP 3
Course Spec
Online Grading
ระบบตัดเกรดออนไลน์ที่จะช่วยสนับสนุนอาจารย์ในการจัดการคะแนน
ของนักศึกษาจำนวนมากพร้อมส่งเกรดไปยังระบบของสำนักทะเบียนและประมวลผล
สร้างไฟล์ตัดเกรดกี่ไฟล์ก็ได้
สามารถแก้ไขชื่อไฟล์ได้ตามต้องการ
ส่งเกรดไปยังสำนักทะเบียนกี่ครั้งก็ได้
(ยึดข้อมูลล่าสุดเป็นหลัก)
ปรับช่วงคะแนนเกรดได้เอง
ตั้งแต่ระดับทศนิยม 0.01 - 1.0
แสดงผลแบบกราฟความถี่
ดูง่ายสบายตาเห็นภาพรวมชัดเจน
เพิ่มช่องคะแนนได้ตามต้องการ
ยืดหยุ่นในการเพิ่มลบหมวดคะแนน
อัพโหลดไฟล์คะแนนดิบเข้าสู่ระบบ
ไม่ต้องกรอกเอง
เลือกนำเกรดที่ไม่ต้องการให้ออกได้
(เช่นไม่ต้องการให้นศ.ได้ D)
ประเมินผลลัพธ์การศึกษา
(ระบบประเมินผลลัพธ์เดิม)
-
ทำไมต้องย้ายมาใช้ Canvas?Canvas เป็น LMS ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านความสามารถและการออกแบบที่ดีในการใช้งาน เป็น Digital Platform ที่ตอบความคาดหวังทั้งของอาจารย์และโดยเฉพาะของผู้เรียนยุคใหม่ Canvas เป็น Cloud Service ทำให้บริการ เสถียร ปลอดภัย รองรับผู้ใช้งานพร้อม ๆ กันได้จำนวนมาก ไม่ต้องกังวลว่าระบบจะล่ม นอกจากนั้น Canvas จะเป็น Platform กลางของวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิตที่ทำให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถใช้ Canvas ในการส่งมอบการเรียนรู้ได้ทั้งแก่นักศึกษาปัจจุบันและแก่ผู้เรียนภายนอก
-
ทำไมต้องชื่อ Mango?ในช่วงนำร่อง มช. มีบริการชื่อ Canvas อยู่แล้ว จึงต้องการชื่อใหม่ที่ไม่ซ้ำกัน ประกอบกับผู้ใช้มักสับสน Canvas กับอีกบริการหนึ่งชื่อ Canva จึงทำให้ตั้งชื่อใหม่ขึ้น โดย mango เป็นชื่อที่สั้น แตกต่าง สะกดง่าย ติดปาก และสื่อถึงผลไม้ที่เป็นที่รู้จักขึ้นชื่อชนิดหนึ่งของไทย เหมือนกันกับ CMU Canvas ที่คาดหวังว่าจะเป็นบริการที่ขึ้นชื่อสำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เช่นกัน
-
CMU Exam จะถูกปิดด้วยหรือไม่?ยังไม่ทราบ การสอบมักมีเงื่อนไขที่ซับซ้อน และอาจต้องคง CMU Exam ไว้หากจำเป็น เช่น เก็บไว้ใช้กับผู้สอบภายนอกที่ไม่ใช่นักศึกษา แต่โดยรวมแล้วแนะนำให้ย้ายมาใช้ Mango แทน เพราะเป็นระบบใหม่ที่เสถียรกว่า รองรับผู้สอบพร้อม ๆ กันได้จำนวนมาก
-
ถ้ามีกระบวนวิชาอยู่บน KC-Moodle ข้อมูลจะถูกย้ายมาที่ Mango ได้อย่างไร?สามารถย้ายข้อมูลเนื้อหาจาก Moodle ไป Canvas ได้โดยขั้นตอนตามคู่มือดังแนบ https://docs.tlic.cmu.ac.th/cmucanvas-manual/add-content/import/moodle-canvas
-
ถ้าอยากหัดใช้ Canvas จะเรียนรู้จากที่ใดได้บ้าง?1.คู่มือการใช้งานโดยทีมงาน TLIC 2. คู่มือการใช้งานโดย Intuructor เจ้าของระบบโดยตรง ภาษาอังกฤษ . ภาษาไทย https://community.canvaslms.com/t5/คู่มือผู้สอน-Canvas-Instructor/tkb-p/ThaiInstructorGuide
-
ไม่มีวิชาสอนในเทอมนี้ สมัครได้ไหม?สมัครได้ โดยท่านสามารถสมัครโครงการ Type Microteaching ซึ่งป็นทุนส่งเสริมเหมาะสำหรับอาจารย์ทีมีลักษณะของการไม่มีรายวิชาสอน (ไม่มีสอน/ ไม่ได้เปิดวิชา/ สอนร่วม/ สอนแยกตามหัวข้อ /ไม่ได้เป็นเจ้าของวิชา หรืออาจารย์ที่ต้องการพัฒนาการจัดเรียนรู้ Active learning ในรูปแบบการฝึกปฏิบัติการสอนเสมือนจริงในรูปแบบจำลอง (Micro Teaching) Type MOOC : Skills 4 Life ทุน MOOC จากวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.info.tlic.cmu.ac.th/cmu21st-type สงวนสิทธิ์ อาจารย์ 1 ท่าน / 1 ทุน
-
สมัครทุนหลายโครงการได้หรือไม่?ไม่ได้ สงวนสิทธิ์การสมัครโครงการ อาจารย์ 1 ท่าน ต่อ 1 ประเภทโครงการ ท่านสามารถตอบคำถามเพื่อประเมินประเภทโครงการที่เหมาะสมกับท่านได้ที่นี่ https://www.info.tlic.cmu.ac.th/cmu21th-regiter
-
ส่งข้อเสนอโครงการเป็นไฟล์ใดได้บ้าง?ส่งข้อเสนอโครงการด้วยไฟล์ PDF เท่านั้น
-
เคยสมัครแล้ว สมัครอีกได้หรือไม่?สมัครได้ โดยสมัครโครงการเดิมได้แต่ต้องไม่ใช้วิชาเดิมที่เคยสมัครไปแล้ว แนะนำให้สมัครโครงการที่ไม่ซ้ำกับโครงการเดิมที่เคยสมัคร และแนะนำให้สมัครโครงการที่มีระดับที่สูงขึ้น เนื่องจากกรรมการ สามารถนำข้อมูลโครงการเดิมมาเปรียบเทียบได้ว่า มีความแตกต่างจากโครงการเดิมอย่างไร
-
วิชาที่เคยมีผู้สอนท่านอื่นขอไปเมื่อปีที่แล้ว สามารถนำมาขอทุนในปีนี้ได้ไหมได้ หากเป็นวิชาเดียวกัน แต่เป็นอาจารย์คนละท่าน สามารถขอทุนได้
-
วิชาที่สอนมีสองรหัส สำหรับนักศึกษาสองหลักสูตรสามารถนับเป็น 1 วิชาได้ไหมหากรายละเอียดวิชาเหมือนกัน สาสามารถนับเป็น 1 วิชาได้ รบกวนระบุรายละเอียดกำกับว่าเป็นวิชาเดียวกันแต่คนละรหัสในตัวข้อเสนอโครงการ
-
upload รายงานฉบับสมบูรณ์ในระบบ Easychair ไม่ได้ ส่งอีเมลล์แทนได้ไหมไม่ได้ เนื่องจากผู้ได้รับทุนต้องเป็นผู้ดำเนินการส่งเอกสารด้วยตนเองผ่านระบบ Easychair เท่านั้น เบื้องต้นแนะนำให้ลองเปลี่ยน Browser ในการใช้งานเว็ป Easychair แทน แต่ต้องส่งผ่านระบบ Easychair เท่านั้น
-
แก้ไขไฟล์ที่ส่งเข้าระบบ Easy Chair อย่างไร?เข้าไปที่ หน้า submission ไปยังแถบเมนูขวามือด้านบน(เล็กๆ) เขียนว่า Edit submission ขั้นตอนนี้สามารถแนบไฟล์ใหม่ทับได้
-
เป็นกรรมการ สามารถขอทุนได้ไหม?ขอได้ แต่จะไม่สามารถพิจารณาข้อเสนอโครงการของตนเองได้
-
วิชาที่มี LAB สามารถขอทุน Type B ได้หรือไม่?สามารถส่งข้อเสนอโครงการ หรือ ขอทุนได้ ทุน Type B จะเป็นรูปแบบ Active Learning และ Flipped Classroom ซึ่งโดยส่วนใหญ่วิชาที่มีแลปจะ Hands on Active Learning ไปในตัวอยู่แล้ว การเขียนส่งข้อเสนอโครงการน้ำหนักในการพิจารณาอาจจะน้อยกว่าการขอในวิชาที่เป็น lecture based ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการเขียนข้อเสนอโครงการและรูปแบบกิจกรรมที่อาจารย์ได้ออกแบบ
-
ประกาศผลผู้ที่ได้รับทุนอาจารย์ช่องทางไหน และประกาศอย่างไร?ทีมงานจะมีการประกาศผลให้กับอาจารย์ทุกท่านที่สมัครหรือยื่นข้อเสนอโครงการ ผ่านทางอีเมลล์ของ TLIC (tlic@cmu.ac.th) โดยจะมีการส่งอีเมลล์แจ้งไปยังทุกท่าน ทั้งผู้ที่ได้รับทุนและผู้ที่ไม่ได้รับทุน
-
สามารถตีพิมพ์บทความ ในโครงการ CMU21 พร้อมกับ การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ได้หรือไม่สามารถเผยแพร่ได้ ถือเป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความ(อาจารย์เจ้าของข้อเสนอโครงการ)
-
สามารถป้องกันการทุจริตอย่างไรได้บ้าง?1. ใช้งานร่วมกับ SEB Safe Exam Browser โปรแกรมล็อคหน้าจอ เพื่อไม่ให้นักศึกษาเปิดหน้าต่างอื่นในขณะสอบ 2. เปิดใช้งาน Webcam Identity เพื่อให้มีการเปิดกล้องในระหว่างทำข้อสอบ และ สุ่มจับภาพตลอดการทำข้อสอบ พร้อมทั้งถ่ายรูปตอนส่งข้อสอบเพื่อยืนยันตัวตนผู้ที่เข้าสอบ 3. เปิดการ Shuffle ลำดับคำถาม และ สลับตัวเลือก 4. สร้างข้อสอบแบบสุ่มดึงจากคลังคำถาม 5. เปิดใช้งาน Block Concurrent เพื่อบล็อค IP Address ให้ใช้งานได้เพียง 1 IP เท่านั้น หากมีการเข้าใช้งานด้วย IP Address อื่น จะทำให้ไม่สามารถเข้าาทำข้อสอบต่อได้ทั้ง เครื่องและ 1 และเครื่องที่ 2 (กรณี หากนักศึกษาคนเดิมมีการเปลี่ยนอินเตอร์เน็ต นักศึกษาอาจเข้าใช้งานไม่ได้) 6. ตรวจสอบความเคลื่อนไหวในระบบสอบด้วยเมนู Course Report Log เพื่อดูพฤติกรรมของนักศึกษาว่าไปที่ส่วนใดของคอร์สบ้าง หรือ มีการเข้าใช้งานด้วย IP Address ที่ซ้ำกัน หรือน่าสงสัยหรือไม่ วิธีการดังกล่าวอาจไม่สามารถป้องกันการทุจริตได้ 100% แต่ด้วยเครื่องมือเหล่านี้ ก็ช่วยในเรื่องความปลอดภัยและลดการทุจริตในการสอบออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
-
ต้องขอเปิดคอร์สทุกเทอมไหมหากอาจารย์ไม่ใช้ข้อมูลของคอร์สเดิม สามารถนำคอร์สเดิมกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยไม่ต้องเปิดใหม่ด้วยวิธีดังนี้ https://docs.tlic.cmu.ac.th/cmumoodle-manual/reuse/reset-course หากอาจารย์ต้องการเก็บข้อมูลเดิมไว้เพื่อความอุ่นใจ สามารถเปิดคอร์สใหม่ได้ตามต้องการที่ https://docs.tlic.cmu.ac.th/cmumoodle-manual/course-request/exam-moodle
-
อยากนำข้อมูลเก่ามาไว้ในคอร์สใหม่ ทำอย่างไร?วิธีการนำเข้าข้อมูลจาก Course เดิมทั้งในระบบ KC Moodle และ CMU Exam สามารถทำได้โดยเมนู Import https://docs.tlic.cmu.ac.th/cmumoodle-manual/reuse/import-data
-
คลังคำถาม (Question Bank) คืออะไร?การทำงานของคลังคำถาม เมื่อท่านสร้างคำถามเรียบร้อยแล้ว คำถามของท่านจะถูกเก็บไว้ในคลังคำถาม หรือ Question Bank ในระบบ ซึ่งท่านสามารถดึงคำถามชุดนี้จากคลังไปใช้กับกระบวนวิชาอื่นๆ ได้ โดยไม่ต้องสร้างคำถามขึ้นมาใหม่ซ้ำอีกรอบ หากท่านดึงคำถามจาก Question Bank Category เดียวกัน เมื่อมีการปรับแก้ หรือแก้ไขข้อคำถามของท่านในวิชาหนึ่ง อีกวิชาหนึ่งที่ท่านดึงข้อคำถามจาก Question bank category เดียวกัน จะเปลียนไปด้วย หากท่านต้องการแก้ไขคำถามเพื่อใช้เฉพาะบางวิชาเท่านั้น ให้ Duplicate คำถามนั้น และนำไปเก็บไว้ใน Category ของวิชานั้นแยกไว้ต่างหากแทน ข้อมูลเพิ่มเติม : https://docs.tlic.cmu.ac.th/cmumoodle-manual/quiz/question-bank
-
วิธีการสร้างแบบทดสอบ (Creating Quiz)แบบทดสอบมีรูปแบบให้เลือกมากถึง 32 รูปแบบ ท่านสามารถดูเนื้อหาเพื่อทำความเข้าใจ Quiz บนระบบ CMu Exam Moodle ที่นี่ https://docs.tlic.cmu.ac.th/cmumoodle-manual/quiz/creating-quiz และสามารถสร้างแบบคำถามแต่ละรูปแบบได้ดังนี้ https://docs.tlic.cmu.ac.th/cmumoodle-manual/quiz/creating-quiz/question-type
-
การนำเข้าคำถาม Multiple Choice ด้วย Aiken format ทำอย่างไร?ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://docs.tlic.cmu.ac.th/cmumoodle-manual/quiz/import-question
-
ทำไมกดเขาคอร์สไม่ได้เกิดจากการที่ยังไม่ถูกเพิ่มรายชื่อเข้าไปในคอร์ส สามารถติดต่ออาจารย์เจ้าของกระบวนวิชาโดยตรง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ TLIC ทีมงาน TLIC จะสามารถเพิ่มนักศึกษาเข้าสู่คอร์สได้ในกรณีที่มีการลงทะเบียนสำเร็จแล้ว หรือมีรายชื่อบนเว็บสำนักทะเบียนแล้วเท่านั้น หากยังไม่มีรายชื่อ จะต้องติดต่อกับอาจารย์หรือผู้ดูแลคอร์สนั้นๆ เพื่อให้ทำการเพิ่มเข้าคอร์ส ปกติแล้วเมื่อมีการเพิ่มรายชื่อในคอร์สเรียบร้อย เมื่อเข้าสู่ระบบจะเจอคอร์สที่หน้าแดชบอร์ดทันทีโดยไม่ต้องกดเข้าร่วมขอเข้าร่วมคอร์ส
-
เพิ่มสมาชิกไม่ได้ ค้นหาไม่เจออาจเกิดได้จาก 1. อยู่ในคอร์สอยู่แล้ว 2. เจ้าของบัญชียังไม่เคยเข้าสู่ระบบ CMU Exam ให้ทำการ Log in เข้าสู่ระบบอย่างน้อย 1 ครั้ง เนื่องจากระบบ CMU Exam ยังไม่มีข้อมูล การเข้าสู่ระบบครั้งแรกจะเป็นเหมือนการลงทะเบียนข้อมูลในระบบ CMU Exam เพื่อให้ระบบรู้จัก Account นั้นๆ เสมือนเป็นการ Actived Account
-
License ในหน่วยงานเต็มต้องทำอย่างไร?ท่านสามารถติดต่อแอดมินคณะของท่านโดยตรง เพื่อบริหารจัดการสิทธิ์ในคณะหรือหน่วยงานของท่าน ข้อมูลเพิ่มเติม : https://docs.tlic.cmu.ac.th/cmu-zoom/management/organization
-
ต้องการซื้อ License เพิ่มทำอย่างไรได้บ้าง?ท่านสามารถทำได้ 2 วิธีคือ 1.จัดซื้อ License ผ่าน TLIC (ท่านจะได้รับเรทราคาเดียวกับของทางมหาวิทยาลัย แต่จะต้องรอการจัดซื้อและโอนสิทธิ์ให้กับหน่วยงานของท่านอีกครั้ง 2.จัดซื้อด้วยตนเองผ่านหน้าเว็บไซต์ Zoom (ท่านจะสามารถใช้งานได้ทันทีแต่จะไม่ได้รับราคาพิเศษ) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ หรือ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://docs.tlic.cmu.ac.th/cmu-zoom/management/more-license
-
นักศึกษาสามารถขอใช้สิทธิ์ Zoom Pro ได้ไหม?สามารถใช้ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี 1.กรณีที่เป็น TA สามารถแจ้งอาจารย์เพื่อให้ประสานไปยังแอดมินคณะ ทำการเพิ่มสิทธิ์ให้กับ cmu account ของนักศึกษา บัญชีของนักศึกษาจะเป็น Pro Licesnse 2.กรณีนักศึกษาทั่วไป ทั้ง ป.ตรี และ ป.โท สามารถจองการใช้งานแบบชั่วคราวตามวันเวลาที่จอง ที่ส่วน Booking Zoom Pro 300 https://www.info.tlic.cmu.ac.th/cmu-zoom เมื่อหมดเวลาจะกลับเป็น Basic เหมือนเดิม
-
ขอสิทธิ์ Zoom ที่ไหน? ต้องทำอย่างไร?สามารถรับสิทธิ์ที่ https://www.info.tlic.cmu.ac.th/cmu-zoom หากไม่เคยใช้งานมาก่อน โปรดลงทะเบียนที่ปุ่มที่ 1 ก่อน จากนั้นจึงขอสิทธิ์ที่ปุ่มที่ 2 หากสิทธิ์ในหน่วยงานของท่านเต็ม สามารถติดต่อแอดมินคณะ เพื่อจัดสรรสิทธิ์ให้ใหม่
-
ไม่พบวิชาที่สอนทำอย่างไร?วิชาที่ปรากฏในระบบ จะเป็นวิชาที่ถูกดึงมาจากสำนักทะเบียน ทางหลักสูตรจะต้องทำการอัปเดตข้อมูลให้กับทางสำนักทะเบียน แต่หากหลักสูตรได้ทำการอัปเดตข้อมูลกับทางสำนักทะเบียนแล้วแต่วิชายังไม่ปรากฏ สามารถติดต่อยังเจ้าหน้าที่ เพื่อรับการแก้ไข
-
PLO ไม่ปรากฏในครั้งแรกทางหลักสูตรจะต้องส่งข้อมูล PLO ให้กับทาง TLIC เพื่อทำการนำข้อมูลเข้าในระบบ แต่หากทางหลักสูตรได้ส่งข้อมูลให้กับทาง TLIC แล้ว แต่ PLO ยังไม่ปรากฏ สามารถติดต่อยังเจ้าหน้าที่ เพื่อรับการแก้ไข
-
สามารถปรับเกณฑ์การประเมิน OBE ได้หรือไม่?สามารถปรับเกณฑ์การประเมิน OBE ได้ตามที่ต้องการ (ขึ้นอยู่กับทางนโยบายของแต่ละหลักสูตร)
-
ถ้าเขียน Course Spec แล้ว ต้องเขียนตัว มคอ 3 อีกหรือไม่?ไม่ต้องเขียน ทาง TLIC จะติดแจ้งกับททางสำนักพัฒน์ ว่าหลักสูตรจะใช้ระบบใหม่
-
เมื่อเขียน Course Spec เสร็จแล้ว แต่อยากกลับมาแก้ไข สามารถแก้ไขได้หรือไม่?สามารถแก้ไขตัว Course Spec ได้เรื่อยๆ จนกว่าจะถึงวันกำหนดส่ง (ขึ้นอยู่กับทางนโยบายของแต่ละหลักสูตรว่าจะแก้ไขได้ถึงเมื่อไหร่)
-
TLIC เป็นหน่วยงานเดียวกัน หรือ อยู่ภายใต้ ITSC ใช่หรือไม่ไม่ใช่ TLIC เป็นศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ ซึ่งดูแลเกี่ยวกับระบบและบริการการเรียนการสอนเป็นหลัก ได้แก่ KC Moodle, CMu Exam Moodle, CMU Canvas, Online Exam Manager เป็นต้น
-
ติดต่อ TLIC Support ได้จากช่องทางไหนบ้าง?1. Help Center (Jira Services Maangement) ช่องทางติดต่อหลัก พร้อมรายงานสถานะการดำเนินงานและแนบไฟล์ต่างๆได้ https://cmu.to/tlic-service-portal 2. Line Officail Account ช่องทางสอบถามข้อมูลและใช้งาน "Line Call" พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ในกรณีเร่งด่วน https://cmu.to/tlic-line 3. Consulting Services บริการให้คำปรึกษา ออกแบบการเรียนการสอนและการสอบออนไลน์ ให้บริการทั้งแบบ Online(MS Teams) และ On-site (ตึก TLIC ชั้น 3) https://cmu.to/TCC หมายเหตุ : ทีมยกเลิกเบอร์โทรภายในค่ะ อาจารย์สามารถแจ้งเรื่องเข้ามาผ่าน 3 ช่องทาง โดยจะมีการดำเนินการทันทีที่รับเรื่องผ่าน 3 ช่องทางนี้ ทีมงานขออภัยในความไม่สะดวกต่อการเปลี่ยนแปลงช่องทางการติดต่อค่ะ
-
ที่ตั้งสำนักงานศูนย์ฯ อยู่ที่ไหน?ชั้น 3 อาคารศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ มช. ตึกสีเทา ข้างศูนย์อาหารใหม่ กรุณานัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้าพบเจ้าหน้าที่ https://cmu.to/TCC
-
เบอร์โทรภายในของ TLICงานสนับสนุนและพัฒนาอาจารย์ - สอบถามเกี่ยวกับทุนอาจารย์ การส่งโครงการ งานอบรม งานวิจัยนวัตกรรม โทร. 053-941473 (ไม่สามารถส่งต่อสายไปยัง Teams Support ได้ค่ะ) งานธุรการ - สอบถามเกี่ยวกับการส่งเอกสาร หนังสือทางราชการ ประกาศแจ้งเวียน ต่างๆ โทร. 053-941472 (ไม่สามารถส่งต่อสายไปยัง Teams Support ได้ค่ะ) งานสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ หรือ TLIC Support ยกเลิกการใช้เบอร์โทรภายใน - ติดต่อเรื่องการใช้งาน และ แก้ไขปัญหาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ KC Moodle, Canvas, CMU Exam, MS Teams, CMu Zoom, Online Exam Maanger, LMS Management และอื่นๆ สามารถติดต่อได้ที่ Help Center - Jira Service Management (atlassian.net) และ Line Officail Account ซึ่งมีทีมงานพร้อมดำเนินการทันที
-
Email หลักของ TLIC คือ Email ไหน?ปัจจุบันอีเมลล์หลักคือ tlic@cmu.ac.th ในส่วนของ team support สามารถติดต่อผ่านอีเมลล์ support-tlic@cmu.ac.th cmuonline@cmu.ac.th ยังคงเปิดใช้งานอยู่ แต่เนื่องจากอีเมลล์นี้เป็นอีเมลล์เดิมที่มีการแจ้งเตือนการอัพเดทระบบต่างๆ ค่อนข้างมาก จึงอาจทำให้เจ้าหน้าที่ตกหล่นอีเมลล์ที่อาจารย์ส่งเข้ามา แนะนำให้ส่งข้อมูลเข้ามาที่ support-tlic@cmu.ac.th หรือ Jira Services manaement: https://cmu.to/tlic-service-portal
-
ลืมรหัสผ่าน CMU Account ติดต่อ TLIC ได้ไหม?กรณีนี้สามารถติดต่อ ITSC โดยตรงได้ที่ One Stop Services ชั้น 1 สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร 053-943800 กด 1 หรือ Line : https://lin.ee/wRFhWai
หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ ร่วมกับ
สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา (EQD) และ บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate- School)