Covid-19 Response Research
วิจัยถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ช่วงถานการณ์ Covid-19
ถอดบทเรียน 1 ปีกับ COVID-19
เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง ?
จากความคิดเห็นของ อาจารย์และนักศึกษา มช. มากกว่า 1,000 คน การนำเสนอผลโครงการวิจัยถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รวมถึง การนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจที่ได้จากการวิจัย และแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้กับการสอนออนไลน์ ที่มาจากข้อมูลจริงพร้อมทั้ง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพูดคุยเพื่อเสนอความคิดเห็นร่วมกัน ในวันพุธที่ 9 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ผ่านช่องทาง Zoom meeting
ถอดเป็นรายงานโครงการวิจัยถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดังนี้
(กดเพื่อดาวน์โหลด)
Executive Summary
จากผลการสำรวจ และการวิจัยสามารถทำให้มองเห็นถึงการปรับตัวในทุกมิติของการจัดการเรียนการสอน
ในบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนก้าวต่อไปดังนี้
มิติการเรียนการสอน
• ใช้การเรียนแบบออนไลน์ ผ่านระบบประชุมออนไลน์ และ LMS เป็นสำคัญและมีการจัดทำสื่อออนไลน์มากขึ้น
• การสอนปฏิบัติการถูกเลื่อน, การทดลองผ่านระบบออนไลน์และทำเองที่บ้านหรือจำกัดจำนวนในการเข้าห้องปฏิบัติการ
มิติการจัดกิจกรรมนักศึกษา
• กิจกรรมส่วนใหญ่ถูกงดหรือยกเลิก
• กิจกรรมที่จำเป็นและยังคงต้องจัด เปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์
• กิจกรรมที่จำเป็นดำเนินการในรูปแบบออนไลน์
มิติการวัดและประเมินผล
• มีความกังวลเรื่องการทุจริตในการสอบออนไลน์
• การเลื่อนการสอน• ลดสัดส่วนคะแนนสอบลงโดยเปลี่ยนเป็นการให้งานนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นเป็นการทดแทน
มิติของการจัดการความเสี่ยง
• มีการประชุมคณะกรรมการบริหารวาระด่วน
• ทำงานโดยใช้โครงสร้างการบริหารเดิมที่มีอยู่แล้ว,
มีการใช้ข้อมูลจากผลสำรวจ (เท่าที่มี) มาตัดสินใจจัดการปัญหาของอาจารย์และนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ
มิติสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และทรัพยากร
• จัดหาเครื่องมือสนับสนุนการเรียนแบบออนไลน์ เช่นคอมพิวเตอร์, ไมโครโฟน,กล้อง, อินเตอร์เนต
• เพิ่มศักยภาพ LMS และการพัฒนาระบบสอบออนไลน์ เช่น การจัดให้มีอุปกรณ์ ห้องสตูดิโอเพื่อจัดทำสื่อที่สนับสนุนการเรียน การสอนออนไลน์
นำไปสู่การปรับเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนก้าวต่อไป
แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ
(Business Continuity Plan)
คลังสื่อการสอน
(Media Warehouse)
การประเมินผลลัพท์การเรียนรู้
แบบเน้นสมรรถนะ
(Competency Based Evaluation)
การเรียนการสอนและการ
จัดกิจกรรมแบบยืดหยุ่น
(Flexible Delivery Mode)
Infographic Summary Research
คณะผู้วิจัย
อ.ดร.อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ
ผู้วิจัยหลัก
ผศ.ดร.ศิริพร เพียรสุขมณี
ผู้วิจัย
ผศ.ดร.พจนา พิชิตปัจจา
ผู้วิจัย
ผศ.ดร.ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย
ผู้วิจัย