สมรรถนะการจัดการเรียนรู้
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนโยบายการพัฒนาบุคลากร (CMU Brain Power Concept) ให้สอดรับภารกิจการ Reskilled - Upskilled ตามแผนพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (SO) ที่ 6 Flagship : Learning & Innovative Workforce with Growth Mindset บุคลากรที่พร้อมเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม (High Performance Workforce) ผ่านเครื่องมือการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (CMU Proactive IDP) โดยมุ่งพัฒนาบุคลากรตั้งแต่สมรรถนะพื้นฐาน (General Competency) และการเข้าสู่กระบวนการพัฒนาสมรรถนะตามกลุ่ม ได้แก่ การพัฒนาสมรรถนะตามตำแหน่งงานสายวิชาการ (Functional Competency for Academic) การพัฒนาสมรรถนะตามตำแหน่งงานสายปฏิบัติการ (Functional Competency for Staff) และการพัฒนาผู้บริหาร (Managerial Competency) มหาวิทยาลัยจึงได้พัฒนากรอบสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Functional Competency for Academics) ครอบคลุมบุคลากรสายวิชาการทุกตำแหน่ง โดยดำเนินการร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญจากส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ กองบริหารงานบุคคล คณะศึกษาศาสตร์
ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักงานบริหารงานวิจัย และอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้
ระบบยื่นรับรองสมรรถนะ
กำหนดการยื่นขอรับรองสัญลักษณ์การเรียนรู้ (Badge)
สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ ได้จัดทำสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องในศตวรรษที่ 21 และเพื่อการพัฒนาทักษะ ส่งเสริมสมรรถนะด้านการเรียนรู้ของอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งอาจารย์ทุกท่านสามารถเลือกรูปแบบได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
อันได้แก่ หลักสูตรออนไลน์ MOOC, การอบรมพัฒนาอาจารย์, การให้คำปรึกษาทั้งด้านการจัดการสอน และการ Digital Learning (Consulting Service), ทุนโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องในศตวรรษที่ 21 รวมถึงการให้บริการ Platform Service Support
การอบรมพัฒนาอาจารย์
ตารางการจัดการอบรมพัฒนาอาจารย์ ADO
ปี 2568
A
Active Learning Facilitator
A2
การส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบนอกชั้นเรียน
(Asynchronous learning facilitator)
- คำจำกัดความ -
ออกแบบให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดช่วงเวลา
หรือสถานที่เรียนรู้เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอน
และผู้เรียน ไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง
โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือช่วยสนับสนุนการเรียนรู้
คำจำกัดความและเกณฑ์ประเมินในแต่ละระดับ
A: Active Learning Facilitator
D: Digital Learning Practitioner
D
OE : Outcome-based Learning Educator
OE
รายละเอียดเกณฑ์ประเมินในแต่ละระดับ
1) สมรรถนะการส่งเสริมการเรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วม (Active Learning Facilitator): (A)
Active Learning Facilitator
A1
การจัดชั้นเรียนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
(Active classroom practitioner)
- คำจำกัดความ -
การออกแบบและดำเนินการเรียนรู้ แบบผู้เรียนมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับบริบทของวิชาหรือศาสตร์นั้น ๆ
| A1 Lv.1 | A1 Lv.2 | A1 Lv.3 | A1 Lv.4 |
พิสูจน์ตนเอง > ปฏิบัติได้ > ผู้เชี่ยวชาญ > ผู้นำ
สมรรถนะย่อย
A1: การจัดชั้นเรียนแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
(Active classroom practitioner)
คำจำกัดความ
การออกแบบและดำเนินการเรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับบริบทของวิชาหรือศาสตร์นั้น ๆ
ครอบคลุมรายละเอียดดังนี้
- ออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning หรือ Active Instruction เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนบทบาทจากผู้ได้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ของตน โดยการปฏิบัติจริงผ่านการคิดขั้นสูง
- ออกแบบโดยบูรณาการ/ปรากฏการณ์รอบตัว/ชีวิตจริง ร่วมกับบริบทของวิชาหรือศาสตร์นั้น ๆ เกื้อกูล เห็นอกเห็นใจ เอื้ออำนวย และสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้เรียน ในการเรียนรู้
- เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียนผ่านกิจกรรมที่ใช้ความคิดขั้นสูง