🔔ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
กิจกรรมการเรียนรู้เชิงลึก หรือ Active Learning เป็นการเรียนรู้ที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง โดยในรายวิชา "การจำลองสถานการณ์สำหรับระบบการผลิตและโลจิสติกส์ กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับวิชาการจำลองสถานการณ์สำหรับระบบการผลิตและโลจิสติกส์" ซึ่งสอนโดยอาจารย์ ชวิศ บุญมี ได้นำเอารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงลึก มาพัฒนากิจกรรมการเรียนที่ทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เนื้อหาของวิชานี้เน้นหลักการจำลองสถานการณ์สำหรับระบบการผลิตและโลจิสติกส์ โดยมีความต้องการที่จะเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบโลจิสติกส์และการผลิต มีความต้องการให้สามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้ได้จริง ผ่านการทดลองทำโครงงานและแบบจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ
การนำ Active Learning มาใช้ในวิชานี้ ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงมากขึ้น ลดการบรรยายลง เพื่อนำเวลาไปเพิ่มในการทำกิจกรรม เช่น การวิเคราะห์เนื้อหา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ การทำงานกลุ่ม และการนำเสนอ โดยมีการทดลองประยุกต์ใช้ความรู้ในกรณีศึกษาจริง เช่น การใช้ซอฟต์แวร์จำลองสถานการณ์หรือการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และการผลิตที่ช่วยให้ภาพการเรียนรู้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในทฤษฎีที่ได้เรียนไปมากยิ่งขึ้นและเข้าใจถึงวิธีการปรับใช้จริงได้มากขึ้น
ดังนั้น การเรียนการสอนในรายวิชา "การจำลองสถานการณ์สำหรับระบบการผลิตและโลจิสติกส์ กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับวิชาการจำลองสถานการณ์สำหรับระบบการผลิตและโลจิสติกส์" ที่ได้นำเอา Active Learning มาใช้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้อย่างครบถ้วน โดยหลังจากปรับใช้รูปแบบนี้ ผู้เรียนมีเสียงตอบรับที่ดีขึ้น มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ กล้าทำกิจกรรม และสามารถเข้าใจถึงรายละเอียดเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้จริงในอนาคต
เครื่องมือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้
│ Kahoot
บทคัดย่อ
จากการเรียนการสอนในวิชาการจำลองสถานการณ์สำหรับระบบการผลิตและโลจิสติกส์ (Simulation for Production and Logistics System) ที่ผ่านมา ผู้สอนจะเน้นการสอนเชิงบรรยายหน้าห้องเป็นหลักในการเรียน ซึ่งอาจจะทำให้นักศึกษายังขาดองค์ความรู้ความเข้าใจเนื้อหาบางส่วน และขาดทักษะบางอย่างไป ดังนั้นผู้สอนจึงมีแนวทางที่จะพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในด้านอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน ด้วยการใช้หลักการกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เข้ามาใช้ ทั้งนี้จะมีการสอดแทรกกรณีศึกษาจริงในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้สอนได้เคยทำงานวิจัยลงไป รวมทั้งให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง ลงพื้นที่จริง เพื่อสร้างแบบจำลองสถานการณ์ และนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน มีการแสดงความคิดเห็นต่อหน้าชั้นเรียน เพื่อเป็นการฝึกความกล้าแสดงออก รวมถึงมีการแสดงทัศนคติหรือความคิดเห็นต่อหัวข้อต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงบริบทของการเรียน และเข้าใจถึงหลักการทฤษฎีอย่างแท้จริงมากยิ่งขึ้น นักศึกษาจะสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีการต่อยอดองค์ความรู้ในห้องเรียนสู่การปฏิบัติจริง โดยการเรียนการสอนในวิชานี้จะทำการปรับสัดส่วนของการให้คะแนน โดยจะเน้นไปที่กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกมากกว่า 40-50% ซึ่งวัดมาจากการนำเสนอเทอมโปรเจกต์ การทำกิจกรรมกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้นเรียน และการเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้สอนเป็นต้น การเรียนในกระบวนวิชานี้จะช่วยพัฒนาทักษะของผู้เรียนในด้านการอภิปราย การวิเคราะห์ การนำเสนอ และที่สำคัญคือ การพัฒนาทัศนคติต่อการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และการแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ด้วย
รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่
หน้า 20 ผลการจัดการเรียนรู้ 21st Century Learning ประจำปีการศึกษา 2565
เรื่อง การจำลองสถานการณ์สำหรับระบบการผลิตและโลจิสติกส์ กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับวิชาการจำลองสถานการณ์สำหรับระบบการผลิตและโลจิสติกส์
โดย อาจารย์ชวิศ บุญมี
ภาควิชาวิศวกรรมอุุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำภาพประกอบโดย TLIC Junior รุ่นที่ 5
(นักศึกษาช่วยงานโครงการ Digital Learning Assistant 1/2567)
📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔
TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
コメント