top of page

[ED Tools] การวิเคราะห์สาระกลุ่มภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ห้องเรียน Active Learning เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ

  🔔ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน


การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยในรายวิชา "การวิเคราะห์สาระกลุ่มภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา" ซึ่งสอนโดยอาจารย์กรกนก สกุลกนกวัฒนา การเรียนการสอนถูกออกแบบโดยใช้รูปแบบ Active Learning เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่เรียนรู้โครงสร้างภาษาตามทฤษฎีเท่านั้น


เนื้อหาของวิชานี้เน้นที่การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยครอบคลุมโครงสร้างเนื้อหาภาษาอังกฤษตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา รวมถึงการประยุกต์ใช้เนื้อหาภาษาอังกฤษในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนอย่างเต็มที่


การใช้ Active Learning ในวิชานี้ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน แต่ยังเพิ่มการมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมที่พัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ในการทำกิจกรรมที่เน้นการฝึกฝน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน


ดังนั้น การนำ Active Learning มาใช้ในวิชา "การวิเคราะห์สาระกลุ่มภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา" เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการเรียนการสอน เนื่องจากนอกจากการรับฟังแล้ว ผู้เรียนยังได้มีโอกาสทำกิจกรรมและสร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้สอน ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปพัฒนาทักษะการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง



เครื่องมือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้


 Canva, Zoom, Plicker, Prezi, Mentimiter, Kahoot

Facebook Group, Microsoft, Line และ YouTube


 

บทคัดย่อ


กระบวนวิชา 052353 การวิเคราะห์สาระกลุ่มภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา เป็นรายวิชาเอกบังคับสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหา และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา การประยุกต์ใช้เนื้อหาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการเรียนรู้ระดับประถมศึกษา การออกแบบหน่วยการเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกระบวนวิชานี้ใช้วิธีการที่มีการบรรยายให้ข้อคิดความรู้แก่ศึกษาและให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงตามหลักของการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ (Active Learning) ผสมผสานกับการเรียนด้วยวิธี Flipped Classroom โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น MOOC Google Classroom และมีการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนผ่านช่องทาง Facebook, Line Application และ Microsoft Teams เพื่อให้นักศึกษาสามารถสร้างองค์ความรู้ได้เองตามแนวคิดของ Constructivism ผู้สอนให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำ (Learning by doing) ของผู้เรียน ผู้เรียนคำนึงถึงสิ่งสำคัญ เช่นในรูปสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม การปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) นำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบหรือสร้างความรู้ใหม่บนฐานความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีมาก่อนหน้า เมื่อได้ข้อสรุป ผู้เรียนนำมาจัดออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และรายงานทางของการค้นคว้าทำข้อมูลผู้เรียนได้ร่วมกันแนะนำจากผู้สอนเพื่อช่วยในการรายงานทางการศึกษา ผ่านช่องทาง Zoom meeting และในห้องเรียน ในการประเมินผลผู้เรียน ผู้สอนเน้นการประเมินผู้เรียนจากการนำเสนอผลงานและการทำกิจกรรมร่วมต่าง ๆ ร่วมกันในชั้นเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการประเมินร่วมกับ ผู้สอน

ผลการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ในภาคการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษา 2565 นี้ พบว่า นักศึกษามีความสุข มีความกระตือรือร้น และสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข มีช่วงเวลาให้ทำงานอย่างเต็มที่ นักศึกษาสามารถวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานตัวชี้วัดระดับชั้นปี ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา และออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง


 

รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่

หน้าที่ 11 รายงานผลการจัดการเรียนรู้ 21st Century Learning ประจำปีการศึกษา 2565

เรื่อง 052353: การวิเคราะห์สาระกลุ่มภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ห้องเรียน Active Learning เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ


โดย อาจารย์กรกนก สกุลกนกวัฒนา

ภาควิชาหลักสูตรการสอนและการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำภาพประกอบโดย TLIC Junior รุ่นที่ 5

(นักศึกษาช่วยงานโครงการ Digital Learning Assistant 1/2567)


 

📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔


TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.

ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย



 

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

CMU Kahoot! คลิกเลย



ดู 12 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commentaires

Noté 0 étoile sur 5.
Pas encore de note

Ajouter une note
bottom of page