top of page
รูปภาพนักเขียนTLIC CMU ADMIN

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับพันธมิตร เปิดตัว “ห้องเรียนอัจฉริยะ 5G” เสริมศักยภาพการศึกษาในภาคเหนือ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับพันธมิตรเปิดตัวโครงการ “ห้องเรียนอัจฉริยะ 5G” และโซลูชันเทคโนโลยีเครือข่ายและการเรียนรู้ทางไกลภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน เชื่อมต่อการเรียนการสอนใน ม. เชียงใหม่ เข้ากับวิทยาเขต แม่เหี่ยะ เข้าด้วยกัน เพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนให้แก่คณาจารย์ และคุณภาพของประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เหล่านิสิตนักศึกษาเชียงใหม่ เพื่อขยายผลเป็นตัวอย่างความสำเร็จในการขยายผลสู่สถาบันการศึกษาไทยแห่งอื่น ๆ ในอนาคต


          โดยโครงการดังกล่าวเป็นการร่วมมือกันเพื่อสร้างห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart classroom) และห้องเรียนทางไกล (Remote classroom) เพื่อใช้เป็นการนำร่องสำหรับทดสอบใช้งานจริงในการเรียนการสอนของทางมหาวิทยาลัยในภาคเรียนที่สองนี้ โดยจะประยุกต์ใช้จุดเด่นด้านความเร็วการเชื่อมต่อของโครงข่าย 5G ของ AIS และเครือข่ายไฟเบอร์บรอดแบนด์ รวมกับโซลูชัน Huawei IdeaHub และแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ULearning รวมถึงกล้องแบบ Tracking Camera เพื่อให้อาจารย์และนักเรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้นทั้งในห้องเรียนแบบออฟไลน์และออนไลน์ เช่น


  • การถามตอบโจทย์คำถามต่างๆจากอาจารย์

  • การทำงานและประชุมกลุ่มย่อยในห้องเรียน

  • การแชร์หน้าจอนำเสนองานได้อย่างหลากหลาย

  • กล้องวิดีโอวงจรปิดแบบติดตามอัจฉริยะ เพื่อติดตามการเคลื่อนไหว และซูมเข้าใกล้ ทั้งผู้สอนและนักเรียนที่ถามตอบในห้องเรียน

  • รวมทั้งการเชื่อมต่อห้องเรียนทางไกลกับทางวิทยาเขต แม่เหี่ยะ เป็นต้น


เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในภาพรวม และหากผลลัพธ์ออกมาดีก็จะมีการวางแผนต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีห้องเรียนอัจฉริยะในคณะอื่นๆและสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ๆ ต่อไป





          ด้านอาจารย์ ดร. อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ ผู้อำนวยการ ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Teaching and Learning Innovation Center, TLIC) ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า

"ผมต้องขอขอบคุณพาร์ทเนอร์ทุกฝ่ายที่ร่วมออกแบบ และติดตั้งโซลูชันห้องเรียนอัจฉริยะ 5G เพื่อการทดลองและวิจัย รวมถึงเพื่อยกระดับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
ขณะนี้ได้มีคณะอาจารย์จากหลากหลายคณะและหลากหลายสาขาวิชา ได้ทำการสมัครเพื่อแสดงความสนใจและจองเวลาสำหรับการใช้ในการเรียนการสอนจริงกับนักเรียนในภาคเรียนที่สองนี้ หลังการใช้งานในภาคเรียนที่สอง เราจะได้รับข้อเสนอแนะจากอาจารย์และนักเรียนผู้ได้ลองใช้งานจริง เพื่อพัฒนาโซลูชันและขยายผลการใช้งานต่อไป"

          โครงการนื้ถือเป็นโครงการต่อยอดเพื่อทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น 5G แซนด์บ๊อกซ์และศูนย์กลางด้านการศึกษาที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ต่อยอดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในภาคสาธารณสุข ซึ่งหากประสบความสำเร็จก็อาจขยายผลเพื่อใช้เป็นตัวอย่างความสำเร็จในการขยายผลสู่สถาบันการศึกษาไทยแห่งอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ


เกี่ยวกับหัวเว่ย (HUAWEI)

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชันที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อน โลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชันและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้


จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ทุกรูปแบบและทุกขนาด 

นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิค ใหม่ ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก  หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด    

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com   





ดู 254 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare

Mit 0 von 5 Sternen bewertet.
Noch keine Ratings

Rating hinzufügen
bottom of page