top of page
  • รูปภาพนักเขียนTLIC CMU

ถอดบทความจาก Live Streaming "CMU Digital Learning Platform in 2024"

CMU Digital Learning Platform in 2024


สรุปประเด็นจากการไลฟ์สตรีมเรื่อง 

CMU Digital Learning Platform in 2024 Update นโยบายการใช้งาน 3 ระบบใหญ่

ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่


เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 16.30 -17.30 น.

ที่มา: https://fb.watch/oNA0mLo3ST/ 



 



1. ประเด็นเกี่ยวกับระบบ Mango Canvas

ผลักดัน Mango Canvas เป็น LMS หลักเต็มรูปแบบในภาคเรียนที่ 1/67

มช. ผลักดันการใช้ Mango Canvas เป็น Learning Management System (LMS) หลักเต็มรูปแบบ แทนที่การใช้ KC-Moodle โดยจะค่อย ๆ ปิดตัว KC-Moodle ลงในช่วงภาคเรียนฤดูร้อน 3/66 และจะหันไปใช้ Mango Canvas อย่างเต็มรูปแบบสำหรับการศึกษาในภาคเรียนที่ 1/67 

ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนอาจารย์ที่เป็น Active user ใน Mango Canvas มากกว่า 40% และยังมีนักศึกษากว่า 71 % ที่ใช้งาน Mango Canvas แล้ว เชื่อว่าเมื่อเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบจะมีจำนวนผู้ใช้งานที่สูงขึ้น


เหตุผลในการผลักดัน Mango Canvas เป็น LMS หลัก

เนื่องจาก Microsoft 365 จำกัดปริมาณพื้นที่จัดเก็บข้อมูลร่วม (Shared storage) รวมถึง Canvas เป็นเครื่องมือที่มหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศใช้กัน และพบว่ามีเครื่องมือที่สามารถช่วยยกระดับการจัดการเรียนการสอนที่น่าจะสร้างความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี


KC Moodle จะเป็นอย่างไรหลังภาคเรียนที่ 1/67

KC-Moodle หรือ CMU Online, E-Learning จะปิดให้บริการถาวร อย่างไรก็ตาม TLIC จะยังคงมีบริการ KC-Moodle ไว้ในกรณีจำเป็น เช่น บางวิชาที่อาจต้องใช้ความสามารถของตัว KC-Moodle (ตัวอย่างเช่นการใช้งาน Code Runner) หรือการสอบบางอย่างที่อาจเหมาะกับการใช้ KC-Moodle มากกว่า

แต่โดยทั่วไปจะใช้ Mango Canvas เป็นตัว LMS หลักในการเรียนการสอนของในภาคเรียนที่ 1/67 นี้


หากต้องการเริ่มต้นใช้ Mango Canvas จะมีการสนับสนุนอะไรบ้างจาก TLIC?

สำหรับอาจารย์ท่านใดที่ยังไม่คุ้นชินกับการใช้งาน Mango Canvas ทีลิค (TLIC) ได้จัดทำวิดีโอสำหรับผู้เริ่มต้นไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในชื่อ Next level learning with Mango Canvas เรียนรู้ 9 Essential principles ของ Mango Canvas สั้นๆ ความยาวคลิปละประมาณ 15 นาทีเท่านั้น คลิกที่นี่ หรือ ดูได้จากวิดิโอด้านล่าง



2. ประเด็นเกี่ยวกับระบบ Microsoft 365

รูปแบบการใช้งาน Microsoft 365 ของ มช. ในปัจจุบัน และได้รับผลกระทบอย่างไรจากนโยบายใหม่ของบริษัท Microsoft?

มช.ได้ใช้บริการ Microsoft 365 for Education แบบ A3 ซึ่งรวมถึงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลร่วม (Shared storage) แบบไม่จำกัดปริมาณการใช้ โดยมี

Outlook เป็นช่องทางการสื่อสารหลัก

Team เป็นพื้นที่สำหรับ Classroom ซึ่งปัจจุบันสามารถทดแทนได้ด้วย Mango Canvas

OneDrive เป็นพื้นที่ในเก็บไฟล์ออนไลน์

Stream เป็นพื้นที่ในการแชร์วิดีโอ

SharePoint เป็นพื้นที่ในการแชร์ไฟล์ออนไลน์ และทำงานร่วมกัน


ผลกระทบจากการประกาศลดขาด Share Storage

จากเดิมสามารถใช้งานได้อย่างไม่จำกัดปริมาณการ แต่ในใช้ปัจจุบัน Microsoft ประกาศจะลดขนาด Shared storage ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2025 เป็นต้นไป ทำให้ทั้งมช.จะถูกลดพื้นที่เหลือ 150 Terabyte ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อบริการที่อยู่ภายใต้ Microsoft 365 ทั้งหมด

และสำหรับ Microsoft Stream ทาง Microsoft จะปิดให้บริการแบบ Classic และเปลี่ยนเป็นแบบ on Share Point ในวันที่ 1 มีนาคม 2024 โดยหลังช่วงปิดปีใหม่ทาง ITSC จะมีวิธีการในย้ายข้อมูลให้สำหรับบุคลากรมช.อีกครั้ง

การปรับตัวของทางมหาวิทยาลัยเพื่อบริหารทรัพยากรที่มีจำกัด

เนื่องจากการลดขนาด Shared storage ทำให้มช.ต้องปรับแนวทางในการให้บริการเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่มีจำกัด ด้วยวิธีการดังนี้

ลดการใช้งาน Shared storage ที่บริการให้แก่ บุคลากร บุคลากรเกษียณ และนักศึกษา

ลดการใช้เครื่องมือที่มีความทับซ้อนกัน เช่น LMS จาก Classroom ใน Teams โดยแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้งาน Mango Canvas แทน

งดการให้บริการ Shared storage สำหรับนักศึกษาเก่า


สิ่งที่ยังคงสามารถใช้งานได้มีอะไรบ้าง

สำหรับสิ่งที่ยังสามารถใช้ได้ คือ อีเมลส่วนกลางสำหรับส่วนงาน/งาน รูปแบบ Shared Mailbox และบริการภายใต้ Microsoft 365 ที่จะลดขนาดของ Storage ลง

ปัจจุบันแม้จะยังไม่มีการจัดสรรขนาดพื้นที่บริการที่ชัดเจน แต่ก็จะพยายามจัดสรรให้กระทบกับการใช้งานให้น้อยที่สุด และอาจมี Local Storage ภายในมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่การจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ (Cloud based)



3. ประเด็นเกี่ยวกับระบบ ZOOM

การปรับลดจำนวน Zoom Pro License จาก 4,000 เหลือ 3,000 สิทธิ์

จากสถิติการใช้งานที่ผ่านมา พบว่ามีการใช้งานลดลงเป็นจำนวนมาก โดยปริมาณการเป็น Host ลดลงกว่า 75% และปริมาณการเป็น Host น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 4 เดือนมีจำนวนกว่า 50% ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การรองรับการใช้งาน Zoom มีต้นทุนต่อหน่วยการสร้าง Meeting สูงขึ้น

มช. จึงมีแผนปรับลดจำนวน Zoom License จาก 4,000 สิทธิ์ เหลือ 3,000 สิทธิ์ ในปี 2024 โดยจะมีผลในวันที่ 13 ธันวาคม 2023


เงื่อนไขในการถอนสิทธิ์ออก หรือจัดการ License เป็นอย่างไร?

หากไม่ใช้งาน Zoom เกิน 30 วันจะถอน Zoom License Pro กลับมาที่ส่วนกลาง โดยคณะที่มีแอดมิน Zoom อยู่แล้ว แอดมินจะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการปรับลดจำนวน Zoom License ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน และอาจมีการจัดการที่เหมาะสมกับคณะโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ซึ่งคาดว่า 3,000 สิทธิ์ จะเพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้งานจริง

ทั้งนี้สำหรับบุคลากรบางท่านที่ไม่มี Zoom License Pro ยังคงสามารถใช้ MS Team Meeting ทดแทนการใช้ Zoom ได้ หรือ ใช้งานสิทธิ์ Zoom แบบจองใช้งานผ่านช่องทาง https://zoom.tlic.cmu.ac.th/ ได้เหมือนเดิม


หากไม่มี License Zoom Pro จะส่งผลกระทบอย่างไร?

หากไม่มี Zoom Pro License ท่านจะสามารถใช้งาน Meeting ได้ 40 นาทีต่อครั้งและมีผู้เข้าร่วมสูงสุดไม่เกิน 100 คน ซึ่งแตกต่างจาก Licesnse Zoom Pro คือ Zoom Pro จะสามารถเริ่ม Meeting แบบไม่จำกัดเวลาแต่จำกัดผู้เข้าร่วมจำนวน 300คน


ในส่วนของสิทธิ์แบบห้องใหญ่ Large Meeting และ Webinar จะถูกลดด้วยหรือไม่

สิทธิ์การจองทั้ง 2 แบบยังคงสามารถใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งเงื่อนไขและขั้นตอนการจองใช้งานสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://zoom.tlic.cmu.ac.th/



4. ประเด็นอื่นๆ (บริการฟรีจาก TLIC สำหรับอาจารย์มช.)

      สำหรับอาจารย์ท่านใดที่ต้องการผลิตสื่อบรรยายวิชาเรียน (Teaching video) สามารถใช้สตูดิโอของทางทีลิค (TLIC) แทนการอัดวิดีโอระหว่างการสอนแบบเดิม เพื่อคุณภาพของสื่อที่ดีขึ้น และเผื่อในอนาคตต้องการสร้างเป็น Life Long Learning Course ให้กับบุคคลนอกก็สามารถใช้วิดีโอในส่วนนี้ได้


ทั้งนี้ TLIC ยังคงเปิดให้บริการ ห้อง EZ Self Studio ใช้อัดสื่อการสอน หรือสตรีมมิ่งสอนออนไลน์ หรือให้ นักศึกษาในวิชาของอาจารย์ผลิตสื่อส่งชิ้นงานได้เช่นกัน สามารถใช้งานได้ฟรีตลอดชีพ (พร้อมผู้ช่วยโดยน้องๆ TLIC Junior ในเวลาทำการ) รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.info.tlic.cmu.ac.th/cmu-ez-self-studio


TLIC ส่งเสริมการเรียนรู้แบบใหม่ ด้วยห้อง EZ Active Classroom สำหรับอาจารย์และบุคลากร มช. ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (พร้อมผู้ช่วยโดยน้องๆ TLIC Junior ในเวลาทำการ) จองห้องเพื่อใช้สอนก็ได้ หรือ ทำWorkshop ก็ดี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.info.tlic.cmu.ac.th/cmu-ez-active-classroom


ช่องทางติดต่อทีมงาน

สามารถส่งข้อความผ่าน Facebook Page, Line OA, และ Chat Bubble(มุมขวาล่าง) ทุก Platfrom ไม่ว่าจะเป็น Course Portal, Website, Mango Canvas, CMU Exam) ได้แล้ววันนี้



ที่มา Live Streaming: https://fb.watch/oNA0mLo3ST/




เรียบเรียงโดย ซูไรญา บินเยาะ

(TLIC JUNIOR#3 - Writer)

นักศึกษาโครงการ Digital Learning Support; DLA 2/2566


และ เจนจิรา แก่นสาร ทีมงาน TLIC ฝ่าย Digital Learning Support

 

ดู 106 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page