1. การสร้าง Meeting และนัดหมายนักศึกษา
สามารถสร้าง Meeting ID ได้หลากหลายวิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 ใช้ Schedule ในโปรแกรม ZOOM : หลังจากสร้าง Schedule ใน ZOOM แล้วนั้นก็จะได้ Meeting ID มา
วิธีที่ 2 ใช้ Google Calendar / Outlook Calendar : เริ่มจากการสร้าง Event ในปฏิทิน หลังจากสร้างเสร็จเรียบร้อยก็จะได้ Meeting ID มา
วิธีที่ 3 : ใช้ E-Learning / KC-Moodle ของมหาวิทยาลัย : สามารถสร้าง ZOOM Meeting เป็น Event ของตัววิชาเรียนของอาจารย์ได้ โดยเลือกที่ Activity และกดที่ ZOOM Meeting ก็สามารถสร้าง Meeting ID ได้เลย
2. การจัดการผู้เรียนระหว่าง Meeting
หลังจากสร้าง Meeting ID เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นนักศึกษาสามารถเข้าโปรแกรมได้โดย Click Link หรือ Join Meeting โดยใส่ Meeting ID ลงไป ก็สามารถเข้าห้อง Meeting ทันทีสิ่งสำคัญในการ Meeting ได้แก่
1. ใส่หูฟัง : การใช้หูฟังจะทำให้คุณภาพเสียงในการเรียนการสอนดียิ่งขึ้น ส่งผลให้มีประสิทธิภาพแก่ผู้สอน และผู้เรียน
2. ควบคุมไมโครโฟน : การควบคุมไมโครโฟนนั้นสำคัญเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้เรียนท่านอื่นสำหรับผู้เรียนที่เข้ามาใหม่ อาจารย์สามารถปิดไมโครโฟนของนักศึกษาทั้งหมดได้ ดังนี้
อาจารย์สามารถกดปุ่มที่ Manage Participants อาจารย์จะสามารถเห็นรายชื่อของผู้เรียนทั้งหมด
หลังจากนั้นกดที่ Mute All การกด Mute All การได้รับอนุญาตให้เปิดไมโครโฟนจากนักศึกษาอาจารย์สามารถควบคุมได้ว่า อนุญาตให้เปิดไมโครโฟนได้เอง หรือต้องขออนุญาตจากอาจารย์ก่อน
3. การตั้งชื่อของผู้เรียน และการดูรายงานผู้เข้าเรียน
การตั้งชื่อ
ในส่วนการตั้งชื่อของผู้เข้าร่วมนั้นอาจารย์สามารถกำหนดให้นักศึกษาสามารถตั้งชื่อตามที่อาจารย์กำหนดได้ โดยมี 2 วิธี ได้แก่
อาจารย์สามารถเปลี่ยนชื่อให้นักศึกษา : โดยกดที่ Participants เลือกตรงชื่อของนักศึกษา กดที่ More แล้วเลือกที่ Rename ก็สามารถเปลี่ยนตามที่อาจารย์ต้องการได้
นักศึกษาเปลี่ยนชื่อได้ด้วยตนเอง : ในกรณีนี้เหมาะสำหรับนักศึกษาในชั้นเรียนจำนวนมาก สามารถให้นักศึกษาเปลี่ยนชื่อตนเองโดยเลือกที่ Rename และอาจารย์จะต้องกำหนดการตั้งชื่อให้กับนักศึกษา
การดูรายงานผู้เรียน
สามารถดูรายงานผู้เข้าร่วมจากการเรียนการสอนได้หลังจากมีการเรียนเสร็จแล้ว ซึ่งอาจารย์สามารถดูรายงานได้ ซึ่งได้แก่ การดูรายชื่อผู้เข้าร่วมการเรียน ระยะเวลาในการเรียนของนักศึกษาแต่ละคน และการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในชั้นเรียน
4. การดำเนินการสอน
อาจารย์ และนักศึกษาสามารถเลือกจอแสดงภาพสำหรับการเรียนการสอน ได้อยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้
Speaker View : จะสามารถเห็นจอภาพของตัวเราเองขนาดใหญ่ (สามารถดูตัวอย่างได้ที่คลิปวิดีโอ)
Gallery View : จะสามารถเห็นจอภาพของผู้เรียนทั้งหมด (สามารถดูตัวอย่างได้ที่คลิปวิดีโอ)
การ Share หน้าจอ : อาจารย์เลือกที่ Share Screen หรืออาจารย์สามารถที่จะเลือก Share เฉพาะ Slide ของตัวเองได้
การใช้ Annotate : โดยอาจารย์สามาถสร้างการมีส่วนร่วมให้กับนักศึกษาได้โดยการใช้ Annotate ได้ง่ายๆ หลังจากที่ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วม อาจารย์สามารถกดบันทึกวิดีโอได้ (สามารถดูตัวอย่างได้ที่คลิปวิดีโอ)
5. การมีส่วนร่วมของผู้เรียน
การใช้ Chat
ประโยชน์ของการใช้ Chat นักศึกษาสามารถเข้ามาถามคำถามในขณะที่อาจารย์สอนได้ โดยนักศึกษาทำการกดเลือกที่ Chat ก็สามารถเห็น ZOOM Group Chat ได้
Feedback
ประโยชน์การใช้ Feedback เหมาะสำหรับอาจารย์ที่ต้องการถามคำถาม และให้นักศึกษาตอบ โดยอาจารย์เลือก Share Slide ที่ต้องการถามคำถามนักศึกษา หลังจากนั้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษาจะเห็นได้จากส่วนของ Participants (สามารถดูตัวอย่างได้ที่คลิปวิดีโอ)
Comments