🔔ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รายวิชา "การบริหารหลักสูตร สร้างครูนักนวัตกรด้านบริหารหลักสูตรด้วยวิทยาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก" ซึ่งสอนโดย อาจารย์สมเกียรติ อินทสิงห์ มีวัตถุประสงค์ของรายวิชาเพื่อพัฒนานักศึกษาในฐานะครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความสามารถในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามกรอบการทำงาน จึงมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เพราะในปัจจุบันมีการผลักดันให้สถานศึกษาต่าง ๆ ดำเนินการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลตามที่คาดหวัง การใช้ Active Learning จึงเป็นตัวช่วยให้สามารถสร้างการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์เป้าหมายได้เป็นอย่างดี
เนื้อหาของรายวิชานี้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะในด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา 4 ด้าน ประกอบด้วย ทักษะการคิดเชิงระบบ, ทักษะการคิดสร้างสรรค์, ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ และความรับผิดชอบ ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการคิดเชิงระบบและทักษะการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริหารหลักสูตร ตลอดจนมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในบริบทการทำงานของตนเองต่อไปได้ในอนาคต
การใช้ Active Learning ในรายวิชานี้ช่วยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น โดยการได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้เกิดการทำงานร่วมกัน และเกิดการอภิปรายอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งการมีส่วนร่วมนี้จะสามารถช่วยพัฒนาทักษะสำคัญต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ Active Learning ยังส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกการแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะการบริหารหลักสูตรในสถานการณ์จริง ทั้งยังทำให้ชั้นเรียนการความสนุกสนานและน่าสนใจมากขึ้น ช่วยสร้างสีสันและเติมเต็มมุมมองความรู้ใหม่ ๆ ให้กับนักศึกษาได้อย่างครบถ้วนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทำให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น การเรียนการสอนในรายวิชา "การบริหารหลักสูตร สร้างครูนักนวัตกรด้านบริหารหลักสูตรด้วยวิทยาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก" ผ่านการใช้ใช้วิทยาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning ที่หลากหลาย สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ให้ได้มากยิ่งขึ้น ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมจนทำให้การเรียนรู้เกิดความสนุกสนานและมีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น โดยได้มีการประเมินตามสภาพจริงที่เน้นการปฏิบัติเพื่อสะท้อนผลสู่การพัฒนานักศึกษาให้เกิดประสิทธิผล และพบว่า นักศึกษามีผลการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุดและมีพัฒนาการสูงขึ้น รวมทั้งมีความพึงพอใจต่อผู้สอน กระบวนวิชา และภาพรวมในการจัดการเรียนรู้นี้อยู่ในระดับมากที่สุด ทำให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงรุกช่วยสร้างความพร้อมให้นักศึกษาปรับใช้ความรู้ไปเป็นนักนวัตกรด้านบริหารหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องมือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้
│ Google Classroom, online social media และ YouTube
บทคัดย่อ
กระบวนวิชา 063730 การบริหารหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มีการปรับโฉมกระบวนการเรียนการสอนใหม่ โดยใช้วิทยาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่หลากหลาย ประกอบด้วย การใช้ห้องเรียนกลับด้าน การเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน กระบวนการคิดเชิงออกแบบ การอภิปรายสะท้อนคิดเชิงวิเคราะห์ และการสร้างสีสันในชั้นเรียนด้วย Digital Application เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ทักษะการคิดเชิงระบบ 2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ 3) ทักษะการทำงานแบบร่วมมือ และ 4) ความรับผิดชอบ โดยจุดเด่นอยู่ที่คลิปวิดีโอที่ผู้สอนได้จัดทำขึ้นด้วยตนเองเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ก่อนมาเข้าชั้นเรียน หนังสือการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาที่เขียนโดยผู้สอน และบทความวิชาการที่ผู้สอนได้ตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิชาการนำมาประกอบในการจัดการเรียนรู้ในกระบวนวิชา นอกจากนั้นอาจารย์ผู้สอนยังใช้การประเมินตามสภาพจริงที่เน้นการปฏิบัติเพื่อสะท้อนผลสู่การพัฒนานักศึกษาให้เกิดประสิทธิผล ผลลัพธ์ที่เกิดกับนักศึกษาพบว่า นักศึกษามีผลการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุดและมีพัฒนาการสูงขึ้น รวมทั้งมีความพึงพอใจต่อผู้สอน กระบวนวิชา และภาพรวมในการจัดการเรียนรู้นี้อยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนั้นกระบวนวิชานี้ยังส่งผลให้นักศึกษามีความพร้อมเป็นนักนวัตกรด้านบริหารหลักสูตรได้อย่างสมภาคภูมิ
รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่
หน้า 299 ผลการจัดการเรียนรู้ 21st Century Learning ประจำปีการศึกษา 2565
เรื่อง 063730: การบริหารหลักสูตร สร้างครูนักนวัตกรด้านบริหารหลักสูตรด้วยวิทยาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
โดย อาจารย์สมเกียรติ อินทสิงห์
ภาควิชาพื้นฐานและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำภาพประกอบโดย TLIC Junior รุ่นที่ 5
(นักศึกษาช่วยงานโครงการ Digital Learning Assistant 1/2567)
📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔
TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
Commenti