top of page
  • รูปภาพนักเขียนTLIC CMU

ถอดบทเรียน 1 ปีกับ COVID-19 เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง ?


จากความคิดเห็นของ อาจารย์และนักศึกษา มช. มากกว่า 1,000 พันคน การนำเสนอผลโครงการวิจัยถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึง การนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจที่ได้จากการวิจัย และแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้กับการสอนออนไลน์ ที่มาจากข้อมูลจริง พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพูดคุยเพื่อเสนอความคิดเห็นร่วมกัน ในวันพุธที่ 9 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ผ่านช่องทาง Zoom meeting


ดาวน์โหลดรยงานฉบับเต็ม

COVID Research Fulltext
.pdf
Download PDF • 6.55MB






Executive Summary

จากผลการสำรวจ และการวิจัยสามารถทำให้มองเห็นถึงการปรับตัวในทุกมิติของการจัดการเรียนการสอน ในบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนก้าวต่อไปดังนี้


มิติการเรียนการสอน

  • ใช้การเรียนแบบออนไลน์ ผ่านระบบประชุมออนไลน์ และ LMS เป็นสำคัญและมีการจัดทำสื่อออนไลน์มากขึ้น

  • การสอนปฏิบัติการถูกเลื่อน, การทดลองผ่านระบบออนไลน์และทำเองที่บ้านหรือจำกัดจำนวนในการเข้าห้องปฏิบัติการ

มิติการเรียนการสอน

  • จัดหาเครื่องมือสนับสนุนการเรียนแบบออนไลน์ เช่นคอมพิวเตอร์, ไมโครโฟน,กล้อง, อินเตอร์เนต

  • เพิ่มศักยภาพ LMS และการพัฒนาระบบสอบออนไลน์ เช่น การจัดให้มีอุปกรณ์ ห้องสตูดิโอเพื่อจัดทำสื่อที่สนับสนุนการเรียน การสอนออนไลน์

มิติการวัดและประเมินผล

  • มีความกังวลเรื่องการทุจริตในการสอบออนไลน์

  • การเลื่อนการสอน• ลดสัดส่วนคะแนนสอบลงโดยเปลี่ยนเป็นการให้งานนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นเป็นการทดแทน

มิติการจัดกิจกรรมนักศึกษา

  • กิจกรรมส่วนใหญ่ถูกงดหรือยกเลิก

  • กิจกรรมที่จำเป็นและยังคงต้องจัด เปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์

  • กิจกรรมที่จำเป็นดำเนินการในรูปแบบออนไลน์

มิติของการจัดการความเสี่ยง

  • มีการประชุมคณะกรรมการบริหารวาระด่วน

  • ทำงานโดยใช้โครงสร้างการบริหารเดิมที่มีอยู่แล้ว,มีการใช้ข้อมูลจากผลสำรวจ (เท่าที่มี) มาตัดสินใจจัดการปัญหาของอาจารย์และนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ


นำไปสู่การปรับเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนก้าวต่อไป

  • แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan)

  • การประเมินผลลัพท์การเรียนรู้แบบเน้นสมรรถนะ (Competency Based Evaluation)

  • คลังสื่อการสอน (Media Warehouse)

  • การเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมแบบยืดหยุ่น (Flexible Delivery Mode)

คณะผู้วิจัย



Infographic ที่เกี่ยวข้อง












ดู 147 ครั้ง1 ความคิดเห็น
bottom of page