top of page

[CMU21st Talk Century Learning Day 2020] โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง - รางวัล Learning Innovator Award

กลับมาพบกันอีกครั้งกับถอดบทเรียนจากรายการ CMU21st Talk Century Learning Day 2020 ซึ่งครั้งนี้พบกับอาจารย์เจ้าของรางวัล Learning Innovator Award ในกระบวนวิชาวิจัยทางการพยาบาล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง จากคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมกับการบรรยายเคล็ดลับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21



นวัตกรรม Aj.Cat Assistant Chatbot

อาจารย์เริ่มต้นเล่าถึงจุดเริ่มของนวัตกรรม ‘Aj.Cat Assistant Chatbot’ ว่ามาจากปรัชญาของวิถี New normal ที่ประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนให้กับนักศึกษา ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเศธได้เลยว่า นักศึกษารุ่นนี้เขามีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ค่อนข้างดี ทั้งทักษะด้านการใช้สื่อ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม แต่จะดีกว่าไหมหากเรานำสิ่งหนึ่งมาพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ที่ถูกวิธีและมีหลักวิชา ซึ่งสิ่งที่ผลิตขึ้นมานี้จะต้องสามารถเบาภาระบางอย่างของอาจารย์ได้

 

เหตุผลที่ต้องเป็น Chatbot

เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาการวิจัยของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 โดยการเรียนส่วนใหญ่จะเป็นการฟังบรรยายจากชั้นเรียน (Classical Classroom) รวมถึงเมื่อปี 2562 มีการเพิ่มเติมสื่อเสริมในระบบ E-learning และเมื่ออาจารย์ลองสังเกตนักศึกษาในห้องเรียน พบว่านักศึกษาไม่กล้าถามในห้องเรียน, คำถามมักจะค้างในไลน์ส่วนตัว เนื่องจากไม่สะดวกตอบได้อย่างเรียลไทม์ และในสาระคำถามมีความคล้ายคลึงกับคำถามจากนักศึกษาเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว



การดำเนินการ มีการวางแผน 3 ระยะดังนี้

  1. ขั้นเตรียมการ: ผู้สอนและทีมได้จัดทำคลังข้อมูลแนวทางบทสนทนา Dialogue ใช้แนวทาง Questions Base Learning จากคำถามเก่า ๆ ที่นักศึกษาเคยถามมา และเตรียมชุดการเรียนรู้เสริมในรูปแบบ Mind Map, Infographic และ Quiz ขั้นตอนสุดท้ายของขั้นเตรียมการ คือ การเตรียม Program ที่ใช้ในการพัฒนา คือ Line และ Dialog Flow

  2. ขั้นดำเนินการ: ดำเนินการแจ้งว่า Aj.Cat Assistant Chatbot เป็นเพียงสื่อเสริมของในรายวิชา ดังนั้นการเรียนการสอน โปรเจกต์กลุ่ม based learning รวมถึงสื่อเสริมในระบบ E-learning ยังคงมีตามปกติ เพียงแต่หากใครสอนใจสามารถแอดไลน์ และลองใช้บริการ

  3. ขั้นประเมิน: ครั้งแรกหลังจากที่ได้ให้นักศึกษาได้ลองใช้งาน ได้เสียงสะท้อนกลับมาว่าถามไปแต่ตอบไม่ตรงคำถาม ดังนั้นจึงเข้าไปแก้ที่ระบบ รวมถึงเปลี่ยนให้ Chatbot ตอบคำถามสั้น ๆ และพยายามตรวจสอบว่าคำถามไหนที่นักศึกษาถามมากที่สุด ซึ่งในขั้นประเมินผลนี้ อาจารย์ได้ทำการประเมิน 2 รอบ นั้นคือ การประเมินเพื่อประปรุง และการประเมินเพื่อโครงการ


การประเมินเพื่อปรับปรุง ต้องสรุปสถิติการใช้งาน และสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม 3 รอบ ตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อเปิดตัว ครั้งที่สองหลังจากใช้ไประยะหนึ่ง และครั้งที่สามตอนที่จะปล่อยให้ใช้งานจริง รวมถึงการปรับปรุงคำถามและคำตอบ

เมื่อสอบถามไปยังนักศึกษาถึงความพึงพอใจและข้อเสนอ ได้รับเสียงสะท้อนถึงประสิทธิภาพ ด้านการเรียนรู้ของผู้ใช้งาน รวมถึงด้านความพึงพอใจในการใช้งานอยู่ในระดับดีมาก อีกทั้งยังได้รับข้อเสนอมาว่าอยากให้ Chatbot มีฟังก์ชั่นของควิซ มากถึง 71.70%



ประโยชน์ที่ได้รับ

นักศึกษาได้ทบทวนเนื้อหา รวมถึงมีควิซที่จะช่วยพัฒนาความคิดและเรียนรู้จากคำเฉลย และสิ่งสำคัญคือ นักศึกษาจะได้รับคำตอบทันที และถามได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อาจารย์ได้เปลี่ยนวิธีการช่วยนักศึกษาในชั้นเรียน และการใช้ควิซใน chatbot ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยตนเองทุกที่ ทุกเวลา และเช่นเดียวกับการที่ไม่ต้องคอยตอบสิ่งที่เป็นคำถามซ้ำ ๆ

อาจารย์ปิดท้ายด้วยคำพูดของศาสตราจารย์ Paulo Blikstein ที่ว่า “The truth is we don't need more automation in education; we need less. The best use of technology is to creatively augment what teachers can do, not replace them.”

แท้จริงแล้วเราอาจไม่ได้ต้องพวก AI มาทดแทนอาจารย์ แต่ตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีในการสร้างศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ที่จะมาเสริมให้อาจารย์ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น อาจารย์ทิ้งท้าย

 

 

           

 


ที่มาคลิปวิดิโอต้นฉบับ:https://www.youtube.com/watch?v=ddSRn9mf_Io&list=PLNnkly3VHgYb7Ket6dCghX-F44U-mDD5C&index=11

เรียบเรียงโดย ซูไรญา บินเยาะ

(TLIC JUNIOR#3 - Writer)

นักศึกษาโครงการ Digital Learning Support; DLA 2/2566

ดู 13 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commenti

Valutazione 0 stelle su 5.
Non ci sono ancora valutazioni

Aggiungi una valutazione
bottom of page