top of page

เรียนรู้แบบ Active Learning : กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในศตวรรษที่ 21

ถอดบทสัมภาษณ์จากรายการ CMU ED TALKS 21st Century Learning การจัดการเรียนการสอนผ่านประสบการณ์จากอาจารย์ต้นแบบ มช. EP.3



โลกการศึกษาไม่เคยหยุดนิ่ง การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่เสมอ การสอนแบบเดิม ๆ อาจไม่เพียงพอสำหรับโลกยุคใหม่ อาจารย์ชลันดา จันทร์โทน จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ซึ่งได้รับรางวัล Exemplary Award ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 นี้ ในรายการ CMU ED TALKS 21st Century Learning การจัดการเรียนการสอนผ่านประสบการณ์จากอาจารย์ต้นแบบ มช. EP.3


ทุน Type A Active Learning: จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

อาจารย์ชลันดา เริ่มต้นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยทุน Type A active learning โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา "บทนำสู่วิชาชีพกิจกรรมบำบัด" ผ่านรูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง แทนการท่องจำแบบ Passive Learning


หัวใจสำคัญของ Active Learning

อาจารย์ชลันดามุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งต่างจาก Passive Learning ที่เน้นการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว Active Learning ได้กระตุ้นให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ ทำงานเป็นทีม สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ และเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ผ่านกิจกรรมหลากหลายในห้องเรียน ผสมผสานกับ อีกทั้งยังเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริม Creative thinking, critical thinking, collaboration และ communication skills ร่วมกับการใช้ ICT ซึ่งสอดรับกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21


กระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

กระบวนการสอนของอาจารย์ชลันดา ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ

  1. การเตรียมการสอนอย่างรอบคอบ: จะออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning

  2. การถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะ: อาจารย์ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ที่สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยให้ห้องเรียนที่สนุกสนาน ผ่อนคลาย เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษากล้าแสดงออก แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทำงานร่วมกัน

  3. การประเมินผล: เน้นการประเมินแบบองค์รวม พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สื่อสาร และทำงานเป็นทีม


ผลลัพธ์ที่ได้ "เกินคุ้ม"

จากการนำ Active Learning มาใช้ ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ใช่แค่ "ดี" แต่ "เกินคุ้ม" ดังนี้

  • ทักษะการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลดีขึ้น นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ ตีความ ประเมินข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • สร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคโนโลยีและสารสนเทศ นักศึกษานำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ คิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่

  • คณาจารย์และนักศึกษาสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่าน MS Teams ซึ่งใช้เป็น Learning Management System


อุปสรรคมี แต่ "เอาชนะได้"

การเปลี่ยนแปลงย่อมมีอุปสรรค เช่น นักศึกษาบางคนอาจไม่คุ้นเคยกับ Activities-based learning และ MS Teams ในช่วงแรก แต่ด้วยความร่วมมือจาก TLIC CMU และความพยายามของคณาจารย์ ทำให้อุปสรรคที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขและขจัดออกไปได้


Active Learning เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่ช่วยไขประตูสู่อนาคตแห่งการศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 และสร้างผลลัพธ์ที่ "เกินคุ้ม" ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีอุปสรรค แต่ด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมมือจากทุกฝ่าย  Active Learning จะเป็นพลังขับเคลื่อนให้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดำเนินไปอย่างมั่นคง


“Active Learning ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิภาพต่อการจัดการเรียนการสอนมากกว่าการเรียนรู้แบบ Passive Learning”



ที่มาคลิปวิดิโอต้นฉบับ: https://youtu.be/1Jwc1kUbOAs?si=H8BOw-GRV-f74L0R  



เรียบเรียงโดย มัลลิกา ชนะบัว

(TLIC JUNIOR#3 - Writer)

นักศึกษาโครงการ Digital Learning Support; DLA 2/2566

ดู 27 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare

Mit 0 von 5 Sternen bewertet.
Noch keine Ratings

Rating hinzufügen
bottom of page