top of page

AI SIG 

Special Interest Group  

      ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งกลุ่ม SIG หรือ Special Interest Group ด้าน AI ขึ้นมาโดยรวมกลุ่มอาจารย์ผู้ที่เชี่ยวชาญและมีความสนใจเทคโนโลยี AI มาช่วยพัฒนาและเสริมศักยภาพของอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วยกรรมการบริหาร 5 ท่าน และคณะทำงาน 10 ท่าน โดยเป็นตัวแทนอาจารย์จากหลากหลายคณะของมหาวิทยาลัยฯ โดยกลุ่มนี้มีเป้าหมายในการดำเนินงานดังนี้

       1. ศึกษา สร้างแผนเพื่อนำเสนอต่อมหาวิทยาลัย ตลอดจนดำเนินการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะด้าน AI ของมหาวิทยาลัย

       2. อบรม แลกเปลี่ยน ให้คำแนะนำ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านการพัฒนาสมรรถนะด้าน AI

       3. พิจารณาข้อเสนอโครงการและเอกสารขอรับรองสมรรถนะด้าน AI ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้​

artificial-intelligence-ai-self-learning-improving-development-problem-solving-solution-ta

Moving Forward

Towards Intelligent University

 

 

 

คณะกรรมการบริหาร

อ. ดร.อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ

ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม

การสอนและการเรียนรู้

รศ. ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร

(คณะบริหารธุรกิจ)

ผู้มากประสบการณ์ในการใช้ AI

จัดการเรียนรู้

รศ. ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง

(คณะศึกษาศาสตร์)

ผู้เปี่ยมประสบการณ์ด้านการศึกษา

และเทคโนโลยีการเรียนรู้

รศ. ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต

รองอธิการบดี​

ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

ผศ. ดร. สพ.ญ.ศิริพร เพียรสุขมณี

รองผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม

การสอนและการเรียนรู้

 

 

 

คณะทำงาน

อ.วรลักษณ์ อังศุวรางกูร

คณะวิทยาศาสตร์

รศ. ดร.สุทธิดา จำรัส

คณะศึกษาศาสตร์

ผศ.ดร.มณทิญา พ่วงทรัพย์

คณะมนุษยศาสตร์

อ. ดร.ดำรงศักดิ์ นภารัตน์

คณะบริหารธุรกิจ

อ. ดร.กมลภพ ศรีโสภา

คณะวิทยาศาสตร์

ผศ. ดร.รัศมีทิพย์ วิตา

คณะวิทยาศาสตร์

รศ. ดร.พรรัตน์ วัฒนกสิวิชช์

คณะวิทยาศาสตร์

ผศ. ดร.กรพรหม พิกุลแก้ว

คณะวิทยาศาสตร์

อ.ดร.วรวิทย์ เทพแสน

อ. ดร.วรวิทย์ เทพแสน

วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล

ผศ. ดร.อุดมโชค อาษาวิมลกิจ

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

 

กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาอาจารย์ของทีม AI SIG​​

     จาก 5 Stages of Technology Adoption โดยแต่ละช่วงจะบ่งบอกถึงการเปิดรับเทคโนโลยี และจำนวนของกลุ่มผู้บริโภคในแต่ละช่วง โดยกลุ่ม AI SIG ได้แบ่งช่วงของอาจารย์มหาวิทยาลัยไว้ดังนี้

5 Stages of Technology Adoption

Innovators >>

กลุ่ม Innovators: เป็นกลุ่มผู้สร้าง หรือนวัตกรรมในด้าน AI โดยชอบการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆแม้ว่านวัตกรรมนั้นมีโอกาสที่จะล้มเหลวก็ตาม

 

 

กลุ่ม Early Majority : เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุด มีแนวโน้มที่จะใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเมื่อเป็นที่รู้จักและเริ่มเป็นกระแสแล้ว กลุ่มนี้ใช้เหตุผลในการตัดสินใจว่านวัตกรรมหรือเทคโนโลยีนี้จะประสบความสำเร็จ

 

กลุ่ม Laggards : กลุ่มสุดท้ายที่จะเปิดใจใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี กลุ่มคนที่ต้องเปลี่ยนมาใช้เพราะพบว่าสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไปแล้ว

 

<<Early Adoptors

​Early Majority >>

<< Late Majority

Laggards >>

กลุ่ม Early Adoptors : เป็นกลุ่มแรกที่เปิดรับนวัตกรรม
และเทคโนโลยีใหม่ๆ ยินดีและมีความความเต็มใจที่จะลงทุน
ในนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีนั้น

 

กลุ่ม Late Majority: กลุ่มที่รอให้คนรอบตัวใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีก่อน ถึงเปิดรับการใช้งาน ต้องการหลักฐานที่ชัดเจนว่านวัตกรรมหรือเทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์ เพราะไม่อยากตกเทรนในการใช้งาน 

 

 


        กลุ่ม SIG AI มองว่า หุบเหวที่ต้องข้ามให้พ้น หรือ The Chasm เป็นจุดที่น่าสนใจในการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัย ความท้าทายคือการพัฒนาคนกลุ่มใหญ่
เพื่อให้มาสนใจเทคโนโลยี AI ในการจัดการเรียนรู้

       ทีม SIG มีเป้าหมายในการพัฒนาอาจารย์ที่อยู่ในกลุ่ม Early Majority ในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้มากขึ้นในการจัดการเรียนรู้ หรือใช้เป็นผู้ช่วยในการทำวิจัยต่างๆ โดยผ่านแนวคิดของกลุ่ม SIG และการรวมตัวแทนระดับคณะที่มีความสนใจด้านAI มาช่วยคิดและสร้าง จนออกมาเป็นการพัฒนาด้าน AI ต่างๆ เช่น การจัดหัวข้อการอบรม AI การมีผู้ให้คำปรึกษาด้าน AI การผลักดันให้ใช้นวัตกรรม CMU AI Platform​ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

​Early Majority

กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาอาจารย์ของทีม AI SIG​​​

artificial-intelligence-with-machine-deep-learning-data-mining-other-modern-user-interface

เปิดตัว Matthew (CMU AI Platform)​

ครั้งแรกของ มช.!!

MATTHEW

Matthew คือ platform สร้าง personalized chatbot

ที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับอาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในการสร้าง chatbot สำหรับวิชาสอนของตนเอง

โดยที่นักศึกษาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้งาน

bottom of page