Teaching and Learning Innovation Center Chiang Mai University
ADMISSIONS
โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้
ทำความรู้จักทุนวิจัยนวัตกรรม
(สำหรับอาจารย์ มช.)
ศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ ได้ให้การสนับสนุนทุนประเภท “R&I” หรือ “ทุนวิจัยนวัตกรรม” ซึ่งเป็นการสนับสนุนทุนด้านการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนรู้โดยเฉพาะ ให้แก่อาจารย์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมา
เพื่อกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการคิดค้นและสามารถผลิตผลงานวิจัย และพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย มีการเผยแพร่ผลงาน ตลอดจนการพัฒนาต่อยอดผลงานเพื่อยกระดับงานวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ได้รับการยอมรับในวงกว้าง สอดคล้องกับ SDGs 4 ด้านการพัฒนาการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง
ตอบสนองเป้าหมายในการพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วย
ประเภทของทุนวิจัยนวัตกรรม
LEVEL I
Laboratory Level
(CMU-RL 1-3)
พัฒนาแนวคิดต้นแบบ
ทดสอบเบื้องต้น
และตีพิมพ์ในฐาน Scopus
งบประมาณ
300,000.-
รายละเอียดเพิ่มเติม
LEVEL II
Fieldwork Level
(CMU-RL 4-7)
ใช้งานจริงในหรือนอกมหาวิทยาลัย (ลงพื้นที่/ชุมชน) ระดับขยายผล
งบประมาณ
500,000.-
รายละเอียดเพิ่มเติม
LEVEL III
Commercial/Standardized
(CMU-RL 8-9)
ยอมรับเป็นมาตรฐาน
ขยายผลอย่างกว้างขวาง
ต่อยอดเชิงพาณิชย์
งบประมาณ
600,000+
รายละเอียดเพิ่มเติม
มุ่งเน้นการนำ AI มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เป็นหลัก
นำ AI มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
และการพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนรู้ในลักษณะอื่นๆ
รายละเอียดของทุนวิจัยนวัตกรรม
ทุนสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของ TLIC นั้น ได้กำหนดประเภททุน
โดยอ้างอิงตามเกณฑ์การประเมินระดับความพร้อมจากการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในบริบทของมหาวิทยาลัย (CMU Readiness Level: CMU-RL) ซึ่งเป็นการประเมินระดับและผลกระทบของผลงานวิจัย หรือองค์ความรู้ใหม่ภายในมหาวิทยาลัยที่มีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์
เพื่อพิจารณาศักยภาพของผลงานและสนับสนุนให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง ดังนั้นศูนย์ฯ จึงได้แบ่งประเภทของการให้ทุนดังกล่าว ออกเป็น 3 ประเภท ตามระดับการประเมิน CMU-RL ดังนี้
ทุนระดับที่ 1 (Level I) สอดคล้องกับ CMU-RL 1-3
งานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเรียนรู้ระดับปฏิบัติการ
LV.1
เป็นโครงการที่สอดคล้องกับระดับ CMU-RL 1-3 เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และผลงานวิจัยพื้นฐานที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus โดยเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม ต้นแบบผลิตภัณฑ์ คู่มือ รูปแบบ (แพลตฟอร์ม) ขององค์ความรู้ใหม่ที่เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
ประเด็นวิจัย = ทุนระดับที่ 1 มุ่งเน้นส่งเสริมโครงการที่มีการใช้ AI ในรูปแบบต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์
ในการจัดการเรียนรู้ โดยครอบคลุมทั้ง Generative, Discriminative และ AI ด้านอื่น ๆ
ทุนระดับที่ 2 (Level II) สอดคล้องกับ CMU-RL 4-7
งานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเรียนรู้เพื่อใช้งานภาคสนาม
LV.2
เป็นโครงการที่สอดคล้องกับระดับ CMU-RL 4-7 เน้นการนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยพื้นฐานที่พัฒนาจากองค์ความรู้ ทั้งนวัตกรรม ต้นแบบผลิตภัณฑ์ คู่มือ รูปแบบ (แพลตฟอร์ม) หรือผลงานวิจัยพื้นฐานที่ได้ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus แล้ว โดยมีการนำผลงานไปทดลองใช้ภายในสภาพแวดล้อมจริง และเกิดการขยายผลจนเป็นต้นแบบการจัดการเรียนรู้ หรือต้นแบบภาคสนาม ไม่ว่าจะเป็นในสถานศึกษา, ชุมชน หรือสถานประกอบการชนิดต่างๆ ภายใน หรือภายนอกมหาวิทยาลัย
ประเด็นวิจัย = ส่งเสริมการต่อยอดงานวิจัย ทั้งการนำ AI มาพัฒนาการจัดการเรียนรู้
และการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ ให้เกิดการขยายผลอย่างต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้น
LV.3
ทุนระดับที่ 3 (Level III) สอดคล้องกับ CMU-RL 8-9
งานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอด
องค์ความรู้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
เป็นโครงการที่สอดคล้องกับระดับ CMU-RL 8-9 ซึ่งเน้นการนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยพื้นฐานไปใช้จริง โดยผู้ใช้งานจริง อาทิ นวัตกรรม ต้นแบบผลิตภัณฑ์ คู่มือ รูปแบบ (แพลตฟอร์ม) หรือผลงานวิจัยพื้นฐานที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus โดยมีผู้ใช้งานจริง ไม่ว่าจะเป็นชุมชน องค์กรของรัฐ หรือเอกชนภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ
มีการขอนำผลงานไปใช้งานผ่านการขอใช้อย่างเป็นทางการ หรือการทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) หรือขยายผลในเชิงสังคมหรือเชิงพาณิชย์ หรือนำไปใช้ในพันธกิจขององค์กรนั้น ๆ
ประเด็นวิจัย = ส่งเสริมการต่อยอดงานวิจัย ทั้งการนำ AI มาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และ
การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ ให้เกิดการขยายผลอย่างต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้น
ในเชิงสังคมและพานิชย์
งานวิจัยด้านการจัดการเรียนรู้
โดยมี AI เป็นเครื่องมือสำคัญ
มุ่งเน้นให้การสนับสนุนอาจารย์และนักวิจัยที่ประสงค์ศึกษาแนวทางการใช้ AI ในรูปแบบต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ โดยความหมายของ AI ครอบคลุมทั้ง Generative AI, Discriminative AI และ AI ด้านอื่น ๆ ซึ่งหากนักวิจัยที่ยื่นข้อเสนอโครงการมีขอบเขตงานดังรายละเอียดต่อไปนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ*
1.เป็นงานวิจัยที่สามารถสร้างผลกระทบให้กับผู้เรียนในวงกว้างไม่จำกัดในกรอบของวิชาใดวิชาหนึ่ง
แต่เป็นแนวคิดที่มองเห็นศักยภาพในการนำมาขยายผลใช้งานในระดับมหาวิทยาลัยได้
การเก็บข้อมูลวัดผลควรทำกับกลุ่มประชากรที่กว้างพอในการพิสูจน์ศักยภาพข้างต้น
2.เป็นงานวิจัยที่มีศักยภาพในการต่อยอดเพื่อยกระดับ
จากระดับ CMU-RL 1-3 ไปยังระดับ CMU-RL 4-7หรือระดับ CMU-RL 8-9 ได้
และนักวิจัยมีแผนพัฒนาต่อยอดขยายผลไม่ได้สิ้นสุดที่ขั้นตอนการตีพิมพ์เพียงอย่างเดียว
3.เป็นงานวิจัยที่มีผลลัพธ์ที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมและมหาวิทยาลัยสามารถนำไปใช้งานต่อได้จริง
เช่น ชุดเครื่องมือ หรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ในบริบทการเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
4.หากเป็นงานวิจัยที่เฉพาะศาสตร์ ควรมีศักยภาพสูงพอที่จะก่อให้เกิดผลกระทบ
ในการจัดการเรียนรู้ในศาสตร์นั้น ๆ และสามารถยกระดับงานวิจัยได้ตามรายละเอียดข้อ 2
5. เป็นงานวิจัยที่ใช้ AI เป็นแก่นสำคัญ ไม่ใช่เป็นเครื่องมือเสริม
กล่าวคือ AI ควรเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการของงานวิจัยที่เสนอ
กำหนดการโครงการวิจัย