🔔ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
การเรียนการสอนแบบ Active Learning ในปัจจุบันถือว่าได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะถือว่าสามารถทำให้ผู้เรียนมีความผูกพันต่อกระบวนการเรียนรู้และเกิดการมีส่วนร่วมที่มากกว่าการรับข้อมูลจากผู้สอน โดยในรายวิชา "จิตวิทยาเพื่อสุขภาพและความผาสุกในชีวิตและการทำงาน" สอนโดยอาจารย์พิมพ์ชนก เครือสุคนธ์ ได้นำเอารูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning มาใช้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการเสริมสร้างการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริงมากกว่าการบรรยายแบบเดิม
ในรายวิชานี้มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความผาสุกของบุคคลทั้งในการดำเนินชีวิตและในการทำงาน ตลอดจนประเด็นจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การจัดการสุขภาพจิต และการประยุกต์ใช้ความรู้ทางจิตวิทยาในชีวิตประจำวันและการทำงานจริงได้อย่างเหมาะสมและเข้าใจมากขึ้น
การนำ Active Learning มาใช้ในวิชานี้ ถือเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เรียนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตอบคำถาม การอภิปราย ซึ่งถือว่าเป็นการลงมือทำกิจกรรมที่ได้พัฒนาทักษะการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน รวมถึงทักษะการวิเคราะห์ในการนำความรู้ทางจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น การนำ Active Learning มาใช้ในวิชา "จิตวิทยาเพื่อสุขภาพและความผาสุกในชีวิตและการทำงาน" ไม่เพียงช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เรียน แต่ยังส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตจริง ผ่านการปฏิบัติจริงที่เน้นการพัฒนาทักษะสำคัญในการจัดการสุขภาพจิตและการทำงาน ผู้เรียนสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้พัฒนาตนเองในชีวิตและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องมือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้
│ Zoom, Kahoot, Mentimeter, Classpoint และ Padlet
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน
มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ในหลายลักษณะ เช่น การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การอภิปราย
จากกรณีศึกษา การค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ และการทำกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน โดยที่ผู้สอนลดบทบาทในการสอนแบบบรรยายลง และเพิ่มบทบาทของผู้เรียนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชา จิตวิทยาสุขภาพและความผาสุกในชีวิตและการทำงาน (013335) เป็นความพยายามในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในแบบเดิมที่มุ่งเน้นการบรรยายมาเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้นผ่านกิจกรรมการเรียนรู้และงานที่มอบหมายต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในการคิด วิเคราะห์ และการเรียนรู้ผ่านการค้นคว้าและการลงมือทำ
รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่
หน้า 71 ผลการจัดการเรียนรู้ 21st Century Learning ประจำปีการศึกษา 2565
เรื่อง 013335: จิตวิทยาเพื่อสุขภาพและความผาสุกในชีวิตและการทำงาน การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning
โดย อาจารย์พิมพ์ชนก เครือสุคนธ์
ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔
TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
Comments