🔔ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
วิชา "การออกแบบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม" ซึ่งสอนโดยอาจารย์รุ่งพรรษา น้อยจันทร์ ได้มีการนำรูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning และ Asynchronous Learning มาใช้ โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผสานกับการเรียนรู้นอกชั้นเรียน (Asynchronous) ซึ่งช่วยให้นักศึกษามีโอกาสฝึกทักษะในการทำงานและสามารถทบทวนบทเรียนได้อย่างแท้จริง
เนื้อหาของรายวิชานี้มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับวัสดุและรายละเอียดพื้นที่ว่าง การผสมผสานวัสดุในงานสถาปัตยกรรม องค์ประกอบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมสำหรับอาคารขนาดเล็กไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ เพื่อสร้างความเข้าใจในเชิงลึกและให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ในอนาคต
การใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning และ Asynchronous Learning ในรายวิชานี้ ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้งและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาผ่านกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบโดยตรง ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพราะจากรูปแบบการสอนเดิม นักศึกษาจะถูกมอบหมายงานกลับไปทำ ซึ่งทำให้ขาดทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งยังไม่สามรถเข้าใจในชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายเท่าที่ควร เมื่อปรับใช้การเรียนรู้ แบบ Active Learning และ Asynchronous Learning ช่วยทำให้นักศึกษาได้รับทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเสริมทักษะการสื่อสารและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการลงมือทำได้มากยิ่งขึ้นด้วย
ดังนั้น การใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning และ Asynchronous Learning ในวิชา "การออกแบบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม" สามารถช่วยเสริมให้นักศึกษามีทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบได้อย่างแท้จริง ช่วยทำให้นักศึกษาได้ฝึกการวิเคราะห์เชิงลึกพร้อมทั้งเสริมการเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการทบทวนด้วยตนเอง ทั้งยังช่วยสร้างความพร้อมให้นักศึกษาสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นและในงานวิทยานิพนธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
เครื่องมือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้
│Kahoot, E-book, Microsoft Teams และ Zoom
บทคัดย่อ
วิชา Architectural Detail Design หรือ การออกแบบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม เป็นวิชาบรรยายและปฏิบัติ โดยเน้นชั่วโมงบรรยายเป็นหลัก ในวิชานี้ นักศึกษาจะได้ศึกษาวัสดุและรายละเอียดพื้นที่ว่าง การผสมผสานวัสดุในงานสถาปัตยกรรม องค์ประกอบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรมสำหรับอาคารขนาดเล็กไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ โดยรูปแบบการเรียนการสอนแบบเก่าเป็นการเน้นบรรยายในห้องเรียนแล้วสั่งการบ้านให้นักศึกษากลับไปทำ ทำให้นักศึกษาขาดการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สำหรับภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 นั้นได้มีการปรับเปลี่ยนการสอนให้สอดคล้องกับโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยปรับการเรียนการสอนจากการเน้นการบรรยายเป็นการผสมผสานทั้งการบรรยายและปฏิบัติ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจและมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน เพื่อการพัฒนาการทำงานของผู้เรียน จัดให้มีกิจกรรมแบบกลุ่มและแบบเดี่ยวเพื่อเสริมทักษะการทำงานร่วมกันและทักษะความรู้ทางด้านวิชาชีพของผู้เรียน มีการใช้สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์และมีการปรับการเรียนการสอนบางส่วนให้เป็นรูปแบบ Asynchronous เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมและทบทวนบทเรียนนอกชั่วโมงบรรยายได้เอง ผลงานของผู้เรียนสะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนว่ามีพัฒนาการในการคิดและการออกแบบที่ดีขึ้น คำนึงถึงความเป็นไปได้ในการก่อสร้างและความงามทางสถาปัตยกรรมได้ดีขึ้น หลังจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งในการทำชิ้นงานและการสอบวัดผลแล้ว พบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถบูรณาการความรู้ที่ได้จากรายวิชาไปในรายวิชาอื่นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้เรียนในการทำผลงานในรายวิชาอื่น รวมไปถึงการออกแบบในขั้นวิทยานิพนธ์ของผู้เรียนเอง
รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่
หน้า 199 ผลการจัดการเรียนรู้ 21st Century Learning ประจำปีการศึกษา 2565
เรื่อง 801334: การออกแบบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม Detail Design by Active and Asynchronous Learning
โดย อาจารย์รุ่งพรรษา น้อยจันทร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำภาพประกอบโดย TLIC Junior รุ่นที่ 5
(นักศึกษาช่วยงานโครงการ Digital Learning Assistant 1/2567)
📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔
TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
Comments