🔔ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
การเรียนการสอนเชิงรุก หรือ Active Learning ถือเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ และกลั่นกรองและตกผลึกเป็นความรู้ด้วยตนเอง โดยในรายวิชา "การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตกผลึกองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการเรียนรู้เชิงรุก" ซึ่งสอนโดยอาจารย์ณัฐพล แจ้งอักษร ได้ใช้ Active Learning เพื่อลดการสอนในรูปแบบการบรรยาย โดยเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทที่สำคัญมากที่สุดและทำให้ผู้สอนเป็นเพียงแค่ผู้ให้คำแนะนำแทนการเป็นผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง
เนื้อหาของรายวิชานี้มุ่งเน้นที่การพัฒนาผู้เรียนให้มีส่วนร่วมและได้ปฏิบัติจริง โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ผ่านการปฏิบัติ การคิดวิเคราะห์ และการทำงานร่วมกัน เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักเรียนรู้อย่างแท้จริง และะสามารถนำความรู้ที่่ได้รับไปใช้ในการวิจัยชั้นเรียนได้อย่างถูกต้อง
การใช้ Active Learning ในรายวิชานี้ ช่วยให้สามารถพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างตอบโจทย์ เพราะผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงตั้งแต่ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการวิจัยไปจนถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาโดยนำความรู้ของตนเองมาใช้ในการแก้ไขปัญหา ต่อยอดให้เกิดกระบวนการคิดขั้นสูงภายในตัวผู้เรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น การนำ Active Learning มาใช้ในรายวิชา "การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตกผลึกองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการเรียนรู้เชิงรุก" ถือเป็นการสร้างองค์ความรู้ที่สามารถต่อยอดในการพัฒนาทักษะและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ไปปรับใช้ในการวิจัยชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ไม่เพียงแต่ในระหว่างการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในต่อไปได้ในอนาคต
เครื่องมือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้
│ Microsoft Tools, Youtube และ Google Form
บทคัดย่อ
กระบวนการเรียนรู้ที่ดีต้องผ่านการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหา ตกตะกอนองค์ความรู้ได้ด้วยตัวผู้เรียนเอง ซึ่งการเรียนแบบบรรยายปกติอาจจะไม่สามารถทำให้ผู้เรียนได้คิดและปฏิบัติได้ การจัดการเรียนรู้แบบบรรยายเป็นวิธีการที่ผู้สอนเป็นผู้บรรยาย อธิบายเนื้อหา และบทบาทในการจัดการเรียนรู้อยู่ที่ผู้สอนเป็นหลัก การจัดการเรียนรู้แบบบรรยายจะทำให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนลดลง เพราะผู้เรียนไม่ได้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ไม่ได้ผ่านการปฏิบัติ ความน่าสนใจในแง่ของการเรียนรู้น้อย ส่งผลให้ความรู้ที่จะได้จากการเรียนนั้นได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น นำไปใช้ในชีวิตประจำวันน้อย ความคงทนในองค์ความรู้ที่ได้อยู่กับผู้เรียนไม่นาน และอาจทำให้เกิดความเครียด ความกังวลใจต่อตัวผู้เรียนเอง วิธีการเรียนที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยกระบวนการคิดผ่านการลงมือปฏิบัติ และกลั่นกรองและตกผลึกเป็นความรู้ด้วยตนเอง รายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้มีการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นผ่านการปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เห็นสภาพสถานการณ์ ปัญหา ความรู้สึก ด้วยตนเอง ผ่านการลงมือออกแบบการวิจัย การเก็บข้อมูล การสร้างเครื่องมือ การวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการเพิ่มบทบาทให้แก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ โดยมีผู้สอนเป็นผู้ให้คำปรึกษา แทนที่ผู้สอนจะเป็นผู้ให้ความรู้ทั้งหมด ความรู้ กระบวนการคิด ที่ได้จากการทำวิจัยจึงมาจากการสร้างความรู้จากผู้เรียนเอง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือการปรับเปลี่ยนการสอนของตนเองในอนาคตได้ ในส่วนของการเรียนด้านเนื้อหา ผู้สอนได้จัดทำการเรียนการสอนแบบวิดีโอคลิปเพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนรู้ประกอบกับการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ให้ผู้เรียนได้ทบทวนองค์ความรู้ โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาประกอบร่วม การจัดการเรียนการสอนที่กล่าวมานั้น ทำให้การเรียนสนุกสนาน น่าสนใจ ความตึงเครียดในชั้นเรียนน้อย ประสิทธิภาพในชั้นเรียนเด่นชัด
รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่
หน้า 43 ผลการจัดการเรียนรู้ 21st Century Learning ประจำปีการศึกษา 2565
เรื่อง 100404: การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตกผลึกองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการเรียนรู้เชิงรุก
โดย อาจารย์ณัฐพล แจ้งอักษร
ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำภาพประกอบโดย TLIC Junior รุ่นที่ 5
(นักศึกษาช่วยงานโครงการ Digital Learning Assistant 1/2567)
📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔
TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
Comments