🔔ลงทะเบียนรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 2/67 ได้แล้ววันนี้ เลื่อนลงด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
การเรียนการสอนแบบ Active Learning ถือเป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยในรายวิชา "การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา" ซึ่งสอนโดยอาจารย์ณัชชา กมล ได้ใช้การเรียนรู้เชิงรุกหรือ Active Learning ในการส่งเสริมสมรรถนะของนักศึกษาในการออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยมีเป้าหมายให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
เนื้อหาของรายวิชานี้มุ่งเน้นที่การสร้างกระบวนการการเรียนรู้ที่หลากหลาย ในการส่งเสริมสมรรถนะในการออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักศึกษา ทั้งการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การทำงานกลุ่ม สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมติ การลงภาคสนาม และการเรียนรู้ออนไลน์ผ่าน Zoom ประกอบกับกระบวนการวัดและประเมินผลที่เป็นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) โดยเน้นการประเมินการเรียนรู้ ทั้งการประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning: AoL), การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) และการประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: AaL) ตลอดภาคการศึกษา ซึ่งถือเป็นการออกแบบเพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่แท้จริง ไม่เพียงแต่เรียนรู้ผ่านทฤษฎี แต่ยังสามารถปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้ทันทีในสถานการณ์จริง ทำให้นักศึกษาสามารถออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างแท้จริง
Active Learning จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยผลักดันให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็น โดยการใช้ Active Learning ในรายวิชานี้ช่วยทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เพราะสามารถช่วยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนและได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งช่วยให้นักศึกษาสามารถบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ (Course Learning Outcome) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้มากขึ้น
ดังนั้น การนำ การเรียนรู้เชิงรุกหรือ Active Learning มาใช้ในรายวิชา "การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา" ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา ทั้งยังช่วยให้ผู้สอนสามารถออกแบบการสอนให้ตอบโจทย์กับบริบทของนักศึกษาได้มากขึ้น ทำให้นักศึกษาได้รับการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ผ่านการเรียนจากประสบการณ์จริง ได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลให้เกิดความเข้าใจและสามารถออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
เครื่องมือที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในวิชานี้
│ Nearpod, Quizizz, Kahoot, Mango CMU, Zoom, Facebook และ Line
บทคัดย่อ
การออกแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในกระบวนวิชา 065333: การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาในครั้งนี้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นักศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมานำมาสู่การออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างของนักศึกษา ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ในกระบวนวิชาดังกล่าวจึงมีความหลากหลาย ทั้งการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองและบทบาทสมมติ การเรียนรู้โดยการลงภาคสนาม และการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ประกอบกับกระบวนการวัดและประเมินผลที่เป็นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) โดยเน้นการประเมินการเรียนรู้ ทั้งการประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning: AoL) การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning: AfL) และการประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning: AaL) ตลอดภาคการศึกษา การเอาใจใส่นักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อนักศึกษา ทำให้นักศึกษาสามารถบรรลุ Course Learning Outcome ของกระบวนวิชาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ Learning Outcome เกี่ยวกับการออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาของนักศึกษา
รายละเอียดเกี่ยวกับรายงานวิจัยฉบับนี้เพิ่มเติมสามารถอ่านต่อได้ที่
หน้า 155 ผลการจัดการเรียนรู้ 21st Century Learning ประจำปีการศึกษา 2565
เรื่อง 065333: การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา การจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมสมรรถนะใน การออกแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักศึกษา
โดย อาจารย์ณัชชา กมล
ภาควิชาหลักสูตร การสอน และการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียงเนื้อหาและจัดทำภาพประกอบโดย TLIC Junior รุ่นที่ 5
(นักศึกษาช่วยงานโครงการ Digital Learning Assistant 1/2567)
📍 ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ CMU Kahoot! EDU Pro (AI Enhanced) 🔔
TLIC จะเปิดให้บริการ CMU Kahoot EDU Pro ในปีการศึกษา 2/2567 สำหรับอาจารย์ มช.
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในการใช้งาน Gamification Education Tools "Kahoot!" ได้เลย
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
Comments