top of page
  • suraiyab4

[CMU21st Talk Century Learning Day 2020] โดย อาจารย์ สุธินี แต้โสตถิกุล - รางวัล Exemplary Award

กลับมาพบกันอีกครั้งกับถอดบทเรียนจากรายการ CMU21st Talk Century Learning Day 2020 ซึ่งครั้งนี้พบกับอาจารย์เจ้าของรางวัล Exemplary Award อีกหนึ่งท่าน โดยได้รับรางวัลจากการสอนในกระบวนวิชา การเตรียมความพร้อมทักษะทางบริบาลเภสัชกรรมในโรงพยาบาล อาจารย์ สุธินี แต้โสตถิกุล จากคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมกับการบรรยายเคล็ดลับการจัดการเรียนการสอนอย่างไรถึงจะที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21

 


เนื่องจากวิชาการเตรียมความพร้อมทักษะทางบริบาลเภสัชกรรมในโรงพยาบาล เป็นวิชาฝึกทักษะของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 5 ดังนั้นจึงมีจำนวนผู้สอนมากถึง 8 คนเพื่อพัฒนาทักษะ ได้แก่ สุธนี แต้ใสตถิกุล, มันติวีร์ นิ่มวรพันธุ์, วันชนะ สิงห์หัน, วรธิมา สีลวานิช, สินธุ์วิสุทธิ์ สุรีชัย, ภัทรพันธ์ สุขวุฒิชัย, นเรนทร์ฤทธิ์ กรุณา และภูขวัญ อรุณมานะกุล

เดิมเภสัชกรโรงพยาบาลมักจะอยู่ในห้องยา แต่ในปัจจุบันอาจารย์ต้องสร้างนักศึกษาเภสัชให้เขาขึ้นไปทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้อย่างเต็มตัว เพราะฉะนั้นอาจารย์ต้องสอนให้นักศึกษาเภสัชพูดแต่ภาษาเภสัชไม่ได้ แต่ต้องพูดภาษาคนที่พูดคุยกับผู้ป่วยได้ พูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ พูดคุยกับพยาบาลได้

วัตถุประสงค์

วิชานี้เป็นวิชาที่จะต้องเรียนในชั้นปีที่ 5 เทอม 1 หน่วยกิตมีเพียงแค่ 1 หน่วยกิต นักศึกษาจะเรียนแค่ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อฝึกประยุกต์องค์ความรู้ทางเภสัชกรรม, ฝึกทักษะในการรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน, ฝึกทักษะการบริบาลเภสัชกรรม และเห็นภาพบทบาทเภสัชกรรมโรงพยาบาลบนหอผู้ป่วย จึงได้จัดกิจกรรม Problem-base learning ทั้งสิ้น 5 กิจกรรม

  1. Medical reconciliation

  2. Problem-solving 1

  3. Problem-solving 2

  4. Adverse drug monitoring

  5. Discharge counseling

สังเกตเห็นได้ว่าจะมีกิจกรรม Problem-solving 2 ครั้ง เนื่องจากทักษะเป็นเรื่องของการนำความรู้มาใช้ การหาคำตอบว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุด เพราะว่าคนไข้แต่ละคนจะมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ดังนั้นการหาว่าเรื่องใดคือปัญหาที่สำคัญที่สุดคือสิ่งที่นักศึกษาต้องวิเคราะห์ หลังจากนั้นจึงต้องตัดสินใจเลือกยาอะไรเพื่อตอบโจทย์ให้ดีที่สุด

 

รูปแบบการเรียนการสอน



วิธีการสอนแบบเดิม นักศึกษาจะได้อ่านเวชระเบียนจำลอง หรือข้อมูลผู้ป่วยจำลอง โดยนักศึกษาจะมีเวลาศึกษาประมาณ 3 วันก่อนเข้าคลาส แล้วจึงมีการดัสคิส รวมถึงควิซ หากแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือนักศึกษามีทักษะในการอ่านและการพูด แต่เขาไม่สามารถหยิบความรู้มาใช้ได้สักเท่าไหร่ อาจารย์ต้องจึงพยายามปรับแก้วิธีการสอน

วิธีการสอนแบบใหม่ อาจารย์พยายามให้มีการถามตอบก่อนที่จะเข้าชั้นเรียนผ่านทางไลน์ และจะมีประเด็นให้นักศึกษาได้เรียนรู้ล่วงหน้าว่า เรียกว่า Pre Quiz ดังนั้นนักศึกษาจะต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองล่วงหน้า เมื่อเข้าห้องเรียนอาจารย์จะให้เวลานักศึกษาดิสคัสกัน 1 ชั่วโมง และอีก 2 ชั่วโมงเข้าสู่ช่วงดิสคัสกันเองเพื่อแก้ปัญหาให้กับคนไข้ และอาจารย์ก็จะแสดงบทบาทเป็นเภสัชกรบ้าง แพทย์บ้าง ผู้ป่วยบ้าง หรือพยาบาลบ้าง เพื่อให้นักศึกษาได้เห้นภาพว่า หากเขาพูดแบบนี้อีกฝ่ายมีรีแอ็คชั่นอย่างไรกลับมา และครึ่งชั่วโมงสุดท้ายจะเป็นการสรุปการเรียนรู้ รวมถึง Post Quiz

 

เครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอน



1. KC-Moodle ในการส่งเอกสาร อย่างเวชระเบียนจำลอง, เครื่องมือทางการเภสัชกรรม, Pre Quiz และการส่งงาน

2. Google form ในการทำแบบทดสอบหลังเรียน Post Quiz

3. Class Activities นักศึกษาทุกคนมีไอแพด และเครื่องมือโทรศัพท์แต่ทุกคนต่างแยกกันทำ ดังนั้นอาจารย์จึงหาวิธีที่จะสามารถรวบรวมความคิดของคนทั้งกลุ่มเข้ามาอยู่ร่วมกัน ด้วยการแจกสมุดและปากกาไปยังแต่ละกลุ่ม ในส่วนการเข้าสู่สถานการณ์อาจารย์ 1 คนจะรับผิดชอบนักศึกษาตลอด 5 สัปดาห์ ดังนั้นอาจารย์จึงจะเห็นพัฒนาการในการคิดและแก้ไขปัญหาของนักศึกษา และอาจารย์สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปส่งต่อให้อาจารย์ในกระบวนวิชาถัดไปได้

 

ผลลัพธ์จากการเรียนการสอน



นักศึกษาสะท้อนกลับมาว่า เขาได้ฝึกทักษาะมากยิ่งขึ้น เห็นภาพงานเภสัชกรรมมากยิ่งขึ้น แต่เขาอยากฝึกมากกว่านี้ และเขาอยากได้ชุดความรู้เดียวกัน เนื่องจากอาจารย์ 8 คน มี 8 กลุ่ม ดังนั้นจึงมีสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และเรื่องสุดท้าย คือ นักศึกษายังไม่คุ้นชินกับการถูกกดดันและความจำกัดของเวลา

ซึ่งในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิดวิชานี้ก็ยังคงมีกิจกรรมเช่นเดิม เพียงแต่ย้ายไปทำผ่าน zoom





ที่มาคลิปวิดิโอต้นฉบับ: https://www.youtube.com/watch?v=bCa4S-RWO30&list=PLNnkly3VHgYb7Ket6dCghX-F44U-mDD5C&index=9

เรียบเรียงโดย ซูไรญา บินเยาะ

(TLIC JUNIOR#3 - Writer)

นักศึกษาโครงการ Digital Learning Support; DLA 2/2566

ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Bình luận

Đã xếp hạng 0/5 sao.
Chưa có xếp hạng

Thêm điểm xếp hạng
bottom of page