กลับมาพบกันอีกครั้งกับถอดบทเรียนจากรายการ CMU21st Talk Century Learning Day 2020 ซึ่งครั้งนี้พบกับอาจารย์เจ้าของรางวัล Exemplary Award อีกหนึ่งท่าน ซึ่งได้รับรางวัลจากวิธีการสอนในกระบวนวิชา 601341 Fundamental food engineering 1 อาจารย์ รวิศ ทัศคร จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร พร้อมกับการบรรยายเคล็ดลับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21
อาจารย์ รวิศ ทัศคร จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร เจ้าของรางวัล Exemplary Award
อาจารย์เริ่มต้นด้วยการเล่าถึงวิชานี้ว่า เป็นวิชาคำนวณ ดังนั้นจึงจะต้องใช้สื่อหลาย ๆ อย่าง เพื่อที่ให้สอนวิชาคำนวณเกิดประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของวิชาคำนวณ ปัญหาหลัก ๆ ที่พบ คือ นักศึกษามักจะมองว่าเป็นวิชาที่ยาก และถนัดท่องจำมากกว่าคำนวณ แม้ว่าในความเป็นจริง วิชานี้มีส่วนที่เป็นเนื้อหาจำและเนื้อคำนวณครึ่งต่อครึ่ง
อีกหนึ่งปัญหาที่พบ คือ จำนวนจักศึกษาลดลงทุก ๆ ปี ดังนั้นอาจารย์จะต้องทำอย่างไรก็ได้ เพื่อผลักดันให้นักศึกษามีคุณภาพดีขึ้น
โดยเมื่อลองระบุปัญหาที่พบจากการเรียนการสอนในอดีตมีดังนี้
เวลาการบรรยายไม่พอเพียงต่อเนื้อหา
สื่อการเรียนการสอนไม่ดึงดูดความสนใจผู้เรียน
นักศึกษายังทำความเข้าใจเนื้อหาไม่ทันและต้องการฟังซ้ำ
นักศึกษาขาดทักษะในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาโจทย์คำนวณ
นักศึกษาไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนและช่องทางติดต่อผู้สอนไม่เพียงพอ
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว อาจารย์จึงตัดสินใจจัดการเรียนการสอนแบบ Flipped classroom หรือการเรียนรู้กลับด้าน ผ่าน Showme ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของเหล่าผู้สอนทั่วโลก ไม่เพียงแค่นักเรียนเราที่สามารถเข้ามาดู แต่รวมถึงนักศึกษาจากต่างประเทศที่ใช้แพลตฟอร์มนี้ ภายในเว็บไซต์สามารถกดติดตามหรือคอมเม้นได้เหมือนเฟซบุ๊ก ซึ่งเมื่ออัพโหลดวิดีโอลงไป ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลด และนำไปใช้ร่วม OBS studio ทำให้สามารถเขียนบนคลิปวิดีโอได้และใช้เป็นสื่อการสอน หลังจากนั้นจึงแปลงให้เป็น QR code เพื่อเพิ่มลงในเอกสารประกอบการเรียนของบทนั้น ๆ
รวมถึงอาจารย์ยังได้ใช้ Zipgrade แอปพลิเคชั่นสำหรับตรวจข้อสอบ ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมีกฎอย่างหนึ่งว่า หากอาจารย์ท่านใดส่งเกรดช้า อาจารย์ท่านนั้นต้องเป็นเจ้ามือในการเลี้ยงพิซซ่า ซึ่งแอปพลิเคชั่นนี้จะทำให้การตรวจข้อสอบง่ายและเร็วมากยิ่งขึ้น โดยสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นกระดาษคำตอบแบบ 20 50 หรือ 100 ข้อ
ใช้เทคนิค Green Screen บนโปรแกรม OBS Studio เพื่อให้สามารถเปลี่ยนฉากหลังต่าง ๆ ไม่ให้สื่อมีความน่าเบื่อ และเข้ากับเนื้อหาในแต่ละบท เป้าหมายอย่างหนึ่งที่ใช้เทคนิคนี้ เพราะอาจารย์มีความเชื่อว่าการทำสื่อการสอนไม่จำเป็นต้องมีราคาสูงเสมอไป อีกทั้งยังใช้ Lightboard ในการดึงดูดความสนใจของนักศึกษาสนใจ
ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ Flipped classroom
กลไกเชิงยุทธศาสตร์ในการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
อ่านหรือฟังคลิป : อ่านเอกสารประกอบการสอน และฟังคลิปสอนออนไลน์ที่เตรียมไว้
ออนไลน์ : ทำการทดสอบรายบุคคล Pre-test (สามารถใช้งานผ่าน KC-Moodle)
ทำโจทย์ในห้อง : หลังจากทำข้อสอบรายบุคคล Pre-test แล้ว เมื่อจบชั้นเรียนจึงนำโจทย์นั้นมาทำในห้องอีกครั้ง
ในส่วนของกิจกรรมกลุ่ม (Team based learning) อาจารย์ได้ใช้หลักการ 4S problem นั้นคือ
Same problem ทุก ๆ กลุ่มจะได้รับโจทย์เดียวกัน
Significant problem ปัญหาสำคัญ ไม่ยาก ไม่ง่ายเกินจนไป โดยส่วนมากจะเป็นปัญหาที่อาจประสบได้ในสภาพการทำงานจริงในโรงงาน (real world problem)
Specific choice นักศึกษาจะต้องเลือกคำตอบทางแก้ปัญหามาเพียงคำตอบเดียวหลังมีปรึกษากันและคำนวณ
Simultaneously reporting back รายงานผลทันทีพร้อมกันทุกกลุ่ม โดยมีอาจารย์ช่วยกำกับโดยให้ถามกันเองว่า ทำไมเลือกคำตอบนี้ ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษามีการคิดเชิงวิพากษ์โดยใช้วิจารณญาณ
ผลจาการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน
กราฟแสดงคะแนน โดยสีฟ้าคือคะแนนก่อนมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอน และสีส้มคือคะแนนหลังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอน
จากการเปลี่ยนรูปแบบการสอน พบว่าโดยรวมนักศึกษามีคะแนนเพิ่มมากขึ้น และผลจากการที่นักศึกษาประเมินตัวเอง คือ ภาพรวมคะแนนโอเค หากแต่ยังมีข้อบกพร่องเรื่องการปรับไปใช้ในชีวิตจริง ดังนั้นแผนต่อไปสำหรับวิชานี้ คือ การเชื่อมโยงบูรณาวิชานี้เข้ากับวิชาอื่น ๆ เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงการปรับไปใช้ในชีวิตจริงมากยิ่งขึ้น และอาจทำการทดสอบรายบุคคล ผ่าน KC-Moodle มากยิ่งขึ้น
อาจารย์ปิดท้ายการบรรยายด้วยคำพูดของ Paul Halmos ที่ว่า ‘ทางเดียวในการเรียนคณิตศาสตร์ คือ การฝึกทำโจทย์’
ดังนั้น อาจารย์ท่านใดที่สอนการคำนวณ ต้องพยายามให้นักศึกษาได้ลองคิดเอง หาสมมติฐานของตัวเอง พิสูจน์ออกมาด้วยตัวเอง อาจารย์ทิ้งท้าย
ที่มาคลิปวิดิโอต้นฉบับ: https://www.youtube.com/watch?v=L5PfTJ4wwxw&list=PLNnkly3VHgYb7Ket6dCghX-F44U-mDD5C&index=8&t=140s
เรียบเรียงโดย ซูไรญา บินเยาะ
(TLIC JUNIOR#3 - Writer)
นักศึกษาโครงการ Digital Learning Support; DLA 2/2566
Comments