กลับมาพบกันอีกครั้งกับถอดบทเรียนจากรายการ CMU21st Talk Century Learning Day 2020 ซึ่งครั้งนี้พบกับอาจารย์เจ้าของรางวัลรายวิชาออนไลน์ MOOC ยอดนิยม อาจารย์ ดร.ปริยานุช วุฒิ ชูปะดิษฐ์ จากคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมกับการแชร์ประสบการณ์ทำโครงการพัฒนารายวิชา สื่อ ข้อสอบ สำหรับการเรียนการสอนในระบบเปิด (MOOC)
อาจารย์เริ่มเล่าถึงครั้งแรกที่ถูกชวนให้มาทำ MOOC ว่าตอนนั้นอาจารย์ยังมองเพดาน มองฟ้าพร้อมถามว่า MOOC คืออะไร ซึ่งไม่มีใครตอบเราได้ จึงนำตัวเองเข้าไปในระบบแพลตฟอร์ม MOOC online เพื่อทำความรู้จักว่าเขาเรียนกันอย่างไร มีหน้าตาอย่างไร สุดท้ายแล้วรับรู้ว่านี่คือ ช่องทางแห่งการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ทรงสมรรถนะมาก ก่อนตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าอยากทำ MOOC phrase 1
อดีตที่ผ่านมาเคยได้ยินนักการสื่อสารท่านหนึ่งพูดว่า Disruptive ยุค Disruption จะเกิดขึ้นจริง ๆ หรอ อดีจอาจารย์ไม่เคยเชื่อ หากแต่ในวันนี้มันเกิดขึ้นจริง ๆ ผู้คนสามารถใช้งาน zoom ได้ภายในหนึ่งคืน โดยสิ่งนี้มันทำให้เห็นว่าการเรียนรู้รูปแบบใหม่ก่อให้เกิด ผู้เรียนที่ดีตลอดเวลา
ดังนั้นอาจารย์จึงต้องคิดถึงกระบวนวิชาที่จะตอบโจทย์มหาชน (Massive) เพราะต้องเป็นสิ่งที่คนอยากเรียน อาจารย์จึงตัดสินใจเลือกเรื่องที่ตัวเองถนัดทั้งสิ้น 3 รายวิชา ดังนี้
เทคนิคการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงตลอด 5 สัปดาห์ที่เปิดสอนได้รับเสียงตอบรับกว่า 200 คน ซึ่งก็ถือว่าสำเร็จมาก ๆ เนื่องจากขณะนั้นอาจารย์ยังไม่ได้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเพียงแค่อาจารย์พิเศษส
จิตวิทยาประยุกต์ในการทำงาน เริ่มมีกระแสของความเจ็บป่วย เรื่องของจิตใจ เรื่องของพลัง การรู้สึกภาวะหมดไฟในการทำงาน จนผู้เรียนใน 5 สัปดาห์แรก ขยับขึ้นมาเป็น 800 กว่าคน
การพัฒนาบุคลิกภาพ (เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรภาครัฐ) ซึ่งในรายวิชานี้มีผู้เรียนกว่า 2,000 คน
แต่สิ่งสำคัญของครูที่อยู่ในระบบ MOOC คือ การเป็น instructor design ที่ดี ทำอย่างไรให้ภาพในหัวออกมาได้อย่างประสบความสำเร็จ และการทำให้ MOOC ประสบความสำเร็จอีกประการหนึ่ง คือ เราต้องมีสมรรถนะบางเรื่องเป็นของตัวเอง ในช่วงแรกอาจารย์จึงนำตัวเองเข้าไปเรียนในระบบ EdX เพื่อให้ทราบว่าเราควรแต่งห้องเรียนอย่างไร วางกระดานไว้ส่วนไหน ไม่เพียงเท่านั้นอาจารย์ยังนำตัวเองไปเรียนในแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพิ่มเติม แล้วจึงปรับปรุงคอร์สเรียนของตัวเองเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสอนใน CMU MOOC คือ การสร้างความผูกพัน เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้เราจะไม่เจอนักเรียนของเราเลย นักเรียนของเราอาจมีตั้งแต่อายุ 17-72 ซึ่งกว้างมาก ๆ ดังนั้นโจทย์คือ เราจะทำอย่างไรให้สื่อสารกับทุกคนได้ สิ่งสำคัญจึงต้องสร้างความผูกพันกับนักเรียนผ่านช่องทางที่เราสร้างขึ้น อย่างการสร้างเฟซบุ๊กแฟนเพจ
รวมถึงเราต้องผูกพันกับห้องสอน เพื่อให้ดูสวยขึ้น ดูน่าเรียน หรือบางหลักสูตรต้องกระตุ้นเร้าให้อยากเรียน เราก็จะไปปรับห้องเรียนของเราเรื่อย ๆ มีกระบวนการสื่อสารอยู่ในนั้นตลอดเวลา และที่สำคัญที่สุด การดีไซน์งานของเราให้เหมือนกับที่เราคาดหวัง คือ การสร้างเข้าร่วมมือกับทีมงานของเรา เพราะการสอนใน MOOC นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ทีมงานในการดูแลระบบ รวมถึงทีมงานโปรดักส์ชั่น ที่คอยดูแลเรื่องการสร้างสื่อ
อยากให้อาจารย์ทุกคนเป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนการสอนรูปแบบใหม่ หรือตามปรัชญาของนักศึกษาศึกษาศาสตร์ที่เรามองการสอนในรูปแบบนี้ว่าเป็นศาสตร์การสอนแบบใหม่ และขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ทุกท่านอย่าล้มเลิกความตั้งใจ เพราะทุกวันคือการพัฒนา วันนี้เราทำได้หนึ่งขั้น พรุ่งนี้ก็จะได้อีกหนึ่งขั้น ต่อไป
และหากใครสงสัยในการสอนของเรา สิ่งที่อาจารย์อยากบอกอาจารย์ทุก ๆ ท่าน ในฐานะของอาจารย์เป็นอาจารย์คนหนึ่งในมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่อาจารย์ที่ไปสร้างครู ก็มักจะบอกกับนักศึกาตัวเองอยู่เสมอว่า ‘เราไม่จำเป็นต้องเหมือนใครเราสามารถมีเอกลักษณ์ของเราเองได้ และก้าวอย่างประสบความสำเร็จได้’
ที่มาคลิปวิดิโอต้นฉบับ: https://www.youtube.com/watch?v=p1OXh7MKFBI&list=PLNnkly3VHgYb7Ket6dCghX-F44U-mDD5C&index=12
เรียบเรียงโดย ซูไรญา บินเยาะ
(TLIC JUNIOR#3 - Writer)
นักศึกษาโครงการ Digital Learning Support; DLA 2/2566
Comments