top of page

ปรับการสอนให้เข้ากับยุคสมัย: กลยุทธ์ AiPL ของ อาจารย์ ดร.วัชรพงศ์ นรพัลลภ

ถอดบทสัมภาษณ์จากรายการ CMU ED TALKS 21st Century Learning การจัดการเรียนการสอนผ่านประสบการณ์จากอาจารย์ต้นแบบ มช. EP.3


สิ่งมีชีวิตที่จะสามารถอยู่รอดได้นั้นไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่แข็งแกร่งที่สุด หรือฉลาดที่สุด แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ได้” ประโยคอมตะของ Charles Darwin ที่สะท้อนภาพความจริงของโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับโลกการศึกษาที่ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ อยู่เสมอ


บทความนี้ขอนำเสนอเรื่องราวและประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของ อาจารย์ ดร.วัชรพงศ์ นรพัลลภ จากคณะเกษตรศาสตร์ ผู้คว้ารางวัล Best Practice Award ด้วยกลยุทธ์การสอนแบบ AiPL ที่มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยและสถานการณ์ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับรายวิชา ดึงดูดความสนใจจากนักศึกษา และช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


จุดเริ่มต้นของ AiPL

อาจารย์วัชรพงศ์สังเกตเห็นว่านักศึกษามีความเครียดจากการเรียนออนไลน์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความเครียดที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากงานที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งรบกวนสมาธิ แรงจูงใจในการเรียนที่ลดลง และการขาดปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน อาจารย์วัชรพงศ์ ซึ่งไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาและได้รับการสนับสนุนทุน Type A จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้ปรับรูปแบบการสอนรายวิชา "สัตวศาสตร์และสัตว์น้ำเบื้องต้น" ใหม่ด้วยกลยุทธ์ AiPL ซึ่งได้ผสมผสาน Active Learning, Project-based Learning และ ICT เข้าด้วยกัน เพื่อเปลี่ยนห้องเรียนออนไลน์ให้เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา


AiPL คืออะไร?

AiPL ย่อมาจาก Active ICT and Project base learning เป็นการผสมผสานกลยุทธ์การสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกัน ประกอบไปด้วย:

  • Active base: เปลี่ยนห้องเรียนออนไลน์เป็นห้องเรียนเสมือนจริง เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษาผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน เช่น เกม Among us, 6 square และ Quizizz

  • ICT base: ใช้เครื่องมือดิจิทัล 9 โปรแกรม แบ่งเป็น 4 วัตถุประสงค์ ดังนี้

  • ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้: Canva, Powtoon, Quizizz, Mentimeter, Podcast, Google for Education

  • สร้างชิ้นงาน: Canva, Podcast

  • ติดต่อสื่อสาร: Quizizz, Mentimeter, QR Generator, Google for Education, Facebook, Zoom

  • วัดผล ประมวลผล: Quizizz, Zipgrade, QR Generator, Google for Education

  • Project base: มอบหมายงานทั้งแบบเดี่ยวและงานกลุ่ม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม และการวางแผน


ผลลัพธ์ที่ได้

  • นักศึกษามีความสุข มีส่วนร่วม ผลการเรียนดีขึ้น

  • อาจารย์สอนสนุก เข้าถึงนักศึกษา บริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

AiPL จึงไม่ใช่แค่สูตรสำเร็จ แต่เป็นแนวทางการปรับตัว กลยุทธ์ที่ยืดหยุ่น ปรับใช้ได้กับทุกวิชาและทุกสถานการณ์


AiPL Plus: พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

อาจารย์วัชรพงศ์ไม่ได้หยุดนิ่งในการเรียนรู้และพัฒนา ท่านได้พัฒนา AiPL ต่อไปเป็น AiPL Plus เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ด้าน Flipped Classroom และเพิ่มสัดส่วนการใช้ AiPL เป็น 80%


AiPL ถือเป็นตัวอย่างกลยุทธ์ที่อาจารย์สามารถนำไปปรับใช้และไปประยุกต์ใช้ได้ เพื่อให้พัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข การศึกษาคือกุญแจสำคัญสู่อนาคต ดังนั้น การพัฒนาการศึกษาจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด การแบ่งปันประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์วัชรพงศ์ นรพัลลภ  เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ "ผู้ปรับตัว" และ "ผู้สร้าง" อนาคตแห่งการศึกษา


“สิ่งมีชีวิตที่จะสามารถอยู่รอดได้นั้นไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่แข็งแกร่งที่สุด หรือฉลาดที่สุด แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ได้ เช่นเดียวกันกับการเรียนการสอน หรือแม้กระทั่งตัวของคณาจารย์เองที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์”



ที่มาคลิปวิดิโอต้นฉบับ: https://youtu.be/1Jwc1kUbOAs?si=H8BOw-GRV-f74L0R  



เรียบเรียงโดย มัลลิกา ชนะบัว

(TLIC JUNIOR#3 - Writer)

นักศึกษาโครงการ Digital Learning Support; DLA 2/2566

ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Bình luận

Đã xếp hạng 0/5 sao.
Chưa có xếp hạng

Thêm điểm xếp hạng
bottom of page